ที่ห้องประชุมอาคารราชบุรีเกมส์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวเปิดการประชุมเชิงรับฟังความคิดเห็น ปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนบูรณาการจัดการทรัพยากรน้ำ ในระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1 (กลุ่มที่ 1 ) โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น แบ่งเป็นภาคเช้าจำนวน 3 อำเภอ และภาคบ่าย จำนวน 7 อำเภอ รวม 10 อำเภอ มีกลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มคนรักแม่กลอง กลุ่มต่อต้านโครงการ เพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ ( ฟลัดเวย์ ) งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทเข้าร่วมประชุม
ผศ.ดร.บันลือ เอมะรุจิ
ทีมที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เปิดเผยว่า
การพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำของประเทศที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สาเหตุหลักส่วนหนึ่งคือการขาดการยอมรับในแผนงาน
ส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานรัฐระดับพื้นที่ที่มีลักษณะโครงการแบบ
Top Down ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ
ขาดการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่
บางครั้งความขัดแย้งดังกล่าวถูกขยายวงกว้างกระทบถึงการดำเนินงานทั้งในขั้นตอนการก่อสร้าง
ขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากโครงการหรือขั้นตอนการซ่อมแซมและบำรุงรักษาในเชิงของการมีส่วนร่วม
ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 180 วัน ทั้งนี้เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของโครงการที่สอดคล้องกับพื้นที่และหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง
และน้ำท่วมของตำบล อำเภอ รับทราบปัญหาและความต้องการของโครงการที่สอดคล้องกับพื้นที่
และหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และการทำแผนบูรณการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งของจังหวัดที่เอาปัญหาของพื้นที่เป็นเป้าหมายในการแก้ไขร่วมกับ
กระทรวง กรม ที่รับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด
และใช้เป็นแผนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
น้ำแล้งของจังหวัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
เสนอแนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำ
ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน มีลักษณะความชัดเจนเรื่องพื้นที่ปัญหา อาทิ น้ำท่วมและน้ำแล้ง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับพื้นที่
ใช้เป็นกรอบแผนปฏิบัติการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำระดับจังหวัดที่มาจากการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจริง
ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับ
ด้านนายณรงค์ ครองชนม์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า
เป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว
ที่ผ่านมาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ และลุ่มน้ำ
ส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานส่วนกลางหรือหน่วยงานรัฐระดับพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นโครงสร้าง
Top Down ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ ขาดการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่รวมถึงบางครั้งความขัดแย้งดังกล่าวถูกขยายวงกว้าง
กระทบถึงการดำเนินงานทั้งในขั้นตอนการก่อสร้าง
ขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากโครงการหรือ
ขั้นตอนการซ่อมแซมและบำรุงรักษาในเชิงการมีส่วนร่วม
ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางเพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการสำรวจพื้นที่จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น