บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชาวบ้านปิดถนนประท้วงไม่ยอมให้สร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน



ชาวบ้านปิดถนนประท้วงไม่ยอมให้สร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน
               เมื่อเวลา 10.00 น.  วันที่ 1 มิถุนายน 2554  ชาวบ้านในหมู่ 7  หมู่ 11 และหมู่ 12  ต.จอมบึง  อ.จอมบึง  จ.ราชบุรี จำนวนกว่า 100 คน ได้นำเต้นท์มาตั้งกางพร้อมนำรถบรรทุก สิบล้อ มาปิดถนนสายจอมบึง - บ้านพุแค  หมู่ 12 ต.จอมบึง หน้าทางเข้าสถานที่ก่อสร้างฟาร์มไก่  เพื่อเรียกร้องขอพบนายสุเทพ  โกมลภมร  ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  หลังชาวบ้านได้เคยยื่นหนังสือร้องเรียนและไม่ยินยอมให้มีการก่อสร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน ที่บริเวณหมู่ 11  บ้านหนองกระทุ่ม  ต.จอมบึง   ไปแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมา เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ผลการประชาคมหมู่บ้านยังเป็นการไปขอให้ชาวบ้านเซ็นต์ชื่อตามบ้านและบางคนที่ไม่รู้เรื่องก็มีรายชื่อยินยอมไปด้วย   
โดยนายพงษ์พันธ์  แสงสุวรรณ  นายอำเภอจอมบึง ได้เดินทางมารับเรื่องดังกล่าวไว้และนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ผ่านมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ก็ได้มีคำสั่งให้ชะลอการก่อสร้างฟาร์มไก่ของนายพชร  สินชัยวนิชกุล ไว้แล้วถึงสองครั้ง  แต่จนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว ทางฟาร์มไก่ก็ยังคงมีการก่อสร้างเพิ่มเติมตลอด โดยไม่ได้สนใจในคำสั่งให้ชะลอการก่อสร้าง และจากการตรวจสอบผลการประชาคมหมู่บ้าน ทางอำเภอจอมบึงพบว่ามีมูลเหตุให้น่าเชื่อว่า การประชาคมในครั้งนี้มีความไม่ถูกต้องและมีการแอบอ้างชาวบ้านบางคนโดยที่ไม่รู้เรื่อง  จึงทำให้ชาวบ้านต้องออกมาทำการปิดถนนดังกล่าว เพื่อเรียกร้องขอพบผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
        ซึ่งในเวลาต่อมานายณรงค์  คลองชนม์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  นายพงษ์พันธ์  แสงสุวรรณ  นายอำเภอจอมบึง  นางวิมลรัตน์  สุภาคม  ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี  และเจ้าหน้าที่ อตร.(องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ) ได้เดินทางไปพบกับชาวบ้านที่ปิดถนน พร้อมกับเชิญตัวแทนชาวบ้านมาพุดคุย ก่อนจะรับหนังสือร้องทุกข์จากตัวแทนชาวบ้าน
 โดยนายณรงค์ คลองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้รับปากกับชาวบ้านว่าจะดำเนินการเรื่องการตรวจสอบหนังสือประชาคมหมู่บ้านที่มีการนำมาใช้ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร โดยจะทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและจะหาข้อสรุปให้กับชาวบ้านโดยเร็ว   และอีกเรื่องคือจะให้ทางเจ้าหน้าที่ของอำเภอประสานกับทางอบต.จอมบึง ให้ตรวจสอบหากฟาร์มดังกล่าวมีการยื่นขออนุญาติใบประกอบกิจการการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ( กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ) ให้ตรวจสอบดูว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบหรือไม่หลังจากที่เจ้าของฟาร์มมายื่นขออนุญาติอีกครั้งหนึ่ง  แต่ในส่วนการระงับการก่อสร้างนั้นทางส่วนราชการเองยังไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปให้ผู้ประกอบการก่อสร้างหยุดการก่อสร้างไว้ได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ใน พรบ.ควบคุมอาคาร แต่ในเบื้องต้นก็คงต้องเห็นความสำคัญและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมพอใจก่อนยุติการชุมนุม


ชาวคูบัวประท้วงการสำรวจปักหมุด

  ชาวคูบัวประท้วงการสำรวจปักหมุดที่ราชพัสดุเป็นเมืองโบราณ


                จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์จังหวัดราชบุรี ได้เข้าไปทำการรังวัดที่ดิน พร้อมปักมุดทองเหลืองไว้หลายจุด ตั้งแต่หมู่ 2-6 .คูบัว กินพื้นที่กว่าพันไร่ ซึ่งมีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่กว่า 500 หลังคาเรือน สร้างความสงสัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ถึงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่ากรมธนารักษ์จะยึดพื้นที่คืนและเกรงว่าจะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์  ทั้งที่บริเวณดังกล่าว ชาวบ้านมีโฉนดที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย มีการถือครองมาตั้งแต่ พ..2459 ..2460  ..2504  จนถึงปัจจุบัน
                โดย เมื่อเวลา 9.00 . วันที่ 31 พ.ค. 54  นายณรงค์  พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้เดินทางมาเป็นประธาน พร้อมทั้งนายสมบูรณ์  สิริเวช  นายอำเภอเมืองราชบุรี เจ้าหน้าที่จากกรมธนารักษ์ และเจ้าหน้าที่จากศิลปากร ได้ร่วมกันชี้แจ้งถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ศาลาการเปรียญ วัดคูบัว ต.คูบัว อ.เมือง มีชาวตำบลคูบัวจากหมู่ 2-6 กว่า 800 คน เข้าร่วมฟังการชี้แจงในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ ได้กล่าวว่า  การที่มาทำการรังวัดที่ดินเป็น โครงการสำรวจที่ดินกำแพงเมือง คูบัว วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง-คูเมือง  และจัดสร้างแผนที่ในการป้องกันระงับยับยั้งการบุกรุกทำลายกำแพงเมือง-คูเมือง  ต่อไป ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ฟังดังนี้ หลายคนต่างก็วิพากย์วิจารย์  ว่า ชาวคูบัวได้อาศัยพื้นที่ตรงนี้กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนมีโฉนด ที่ดิน ซึ่งก็ได้ตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวคูบัวจึงมีความรักและความผูกพันธ์ การที่มาทำแบบนี้เหมือนมาดูถูกชาวคูบัวและทำลายวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 200 ปี 
                เมื่อพิจารณาแผนที่รังวัดปักหมุดคูเมืองของเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ พบว่า บริเวณพื้นที่ของคูเมือง  มีความกว้างกว่า 200 เมตร และแนวคลองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวกว่า 3 กิโลเมตร มีความกว้าง กว่า 800 เมตร ซึ่งรวมพื้นที่เมืองโบราณแล้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด กว่า  1.92 ตารางกิโลเมตร
                โดยบรรยากาศในที่ประชุมเริ่มตึงเครียด มีตัวแทนจากหลายหมู่บ้านของตำบลคูบัว ได้ออกมายืนยัน อย่างชัดเจน ว่าจะขอให้กรมธนารักษ์ระงับโครงการดังกล่าวและจะขอปกป้องที่ดินบริเวณนี้ไว้ไม่ให้ใครมาทำลายได้อย่างเด็ดขาด  อย่างไรก็ตามนายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี   ได้รับฟังปัญหากับทางเจ้าหน้าที่ธนารักษ์  และข้อมูลชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้ว  ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น  โดยทางจังหวัดจะทําหนังสือบันทึกถึงกรมธนารักษ์  เนื่องจากชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้  ให้ยกเลิก หรือ ระงับโครงการกําหนดการรังวัดปักหมุดแนวเขตกําแพงคูเมืองโบราณบ้านคูบัวทั้งหมดไว้ก่อน   เพื่อเสนอปัญหาของชาวบ้านไปยังอธิบดีกรมธนารักษ์เพื่อพิจารณาต่อไป  ซึ่งชาวบ้านก็ตกลง  และหากวันจันทร์หน้าไม่มีคําตอบที่ชัดเจนว่าจะยกเลิกหรือไม่  ชาวบ้านก็จะเดินทางไปประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดราชบุรีอีกครั้ง