บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ศึกแย่งนํ้ากลุ่มรีสอร์ท

รองผู้ว่าราชบุรีลงพื้นที่หย่าศึกแย่งนํ้ากลุ่มรีสอร์ท ชาวบ้าน  กลุ่มเครือข่ายนํ้าตกเก้าชั้น                                             
                              นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี   พ.อ.มนิต  ศิริรัตนากุล  เสธนาธิการทหารกรมพัฒนาที่ 1 จังหวัดราชบุรี  นายสมศักดิ์  เหลืองจรุงรัตน์  นายกองค์การบริหารส่วนตําบลสวนผึ้ง    เจ้าหน้าที่โครงการฟื้นฟูธรรมชาติ  โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้น ( เก้าโจน )   กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ท พร้อมชาวบ้าน    เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจค่ายทัพยาเสือ  กองกําสุรสีห์   และตํารวจตระเวนชายแดนที่ 137  อําเภอสวนผึ้ง  เดินเท้าเข้าป่าลึกระยะทางขึ้นลงเขาไป - กลับราว 15 กิโลเมตร   บริเวณป่าดิบชื้นบนเทือกเขาตะนาวศรี   เขตติดต่อชายแดนไทย พม่า  หมู่ที่  ตําบลสวนผึ้ง   อําเภอสวนผึ้ง  จังหวัดราชบุรี    หลังจากเกิดปัญหาความขัดแย้ง  เปิดศึกแย่งชิงนํ้าเป็นปัญหาเรื้อรังมานานในช่วงหน้าแล้งระหว่างเดือนมีนาคม พฤษภาคมของทุกปี  มีการประชุมแก้ปัญหาหลายครั้งแต่ยังตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ทบางแห่งขึ้นไปสร้างฝายกักนํ้า  ต่อท่อส่งนํ้าลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อการบริโภค และการเกษตร     ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นอ้างว่า    ถูกต่อท่อนํ้าไปใช้ในรีสอร์ทจนทําให้นํ้าตกเก้าชั้นไม่มีนํ้า   ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม  ของทุกปี
              ทางด้าน นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  กล่าวว่า  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาลดความขัดแย้งจึงได้เชิญ กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ท ชาวบ้าน  กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้น  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ขึ้นไปตรวจสอบข้อเท็จจริง    ให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และแก้ปัญหาจัดการเรื่องนํ้าร่วมกัน  เพราะทุกฝ่ายก็มีความจําเป็นเรื่องนํ้า     ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการรีสอร์ทได้ว่าจ้างชาวบ้านในพื้นที่ต่อท่อนํ้า  พีวีซี  ขนาดประมาณ 8 นิ้ว  จากต้นนํ้าห้วยอิมิ  อยู่ติดกับชายแดนไทย พม่า เพียง 300  เมตร  ในราคากิโลเมตรละ  100,000  บาท  เป็นระยะทาง  7  กิโลเมตรร่วม  700,000  บาท    ปล่อยนํ้ามาตามท่อลงสู่หมู่บ้านผาปกค้างคาว   เพื่อใช้ในรีสอร์ทส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านกว่า  60  หลังคาเรือนในหมู่บ้านผาปกค้างคาว  หมู่บ้านห้วยนํ้าขาว  หมู่บ้านหัวสาม    และสํานักสงฆ์บ้านหัวสาม  หมู่ที่  ได้ใช้จากท่อนํ้านี้เพื่ออุปโภค  บริโภค  และทําการเกษตร  และห้วยที่มีการต่อท่อนํ้านั้นไม่ใช่ลําห้วยที่ไหลลงสู่นํ้าตกเก้าชั้น  อย่างที่กลุ่มเคลือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นเข้าใจ   
                ขณะที่กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นชี้ว่า  ลําห้วยดังกล่าวเป็นลําห้วยต้นนํ้าที่ไหลผ่านนํ้าตกเก้าชั้น    หากมีการต่อท่อจะทําให้นํ้าไหลไปยังนํ้าตกเก้าน้อยน้อยลง    ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเพราะไม่มีนํ้า    และยังมีชาวบ้าน    บ้านห้วยผากหมู่ที่  7   ก็ใช้นํ้าจากลําห้วยบ่อคลึง  ที่แยกจากนํ้าตกเก้าชั้นแห่งนี้ด้วย    ทําให้เกิดการโต้เถียงกันขึ้นทั้งสองฝ่ายอย่างไม่จบสิ้น   ทางจังหวัดจึงได้นัดหมายผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันขึ้นไปตรวจพิสูจน์    เพื่อลดการขัดแย้งกันในครั้งนี้
              จากการตรวจพิสูจน์พบว่า  แหล่งต้นนํ้านั้นไหลมาจากเทือกเขาตะนาวศรี  และมีการกั้นฝายต่อท่อนํ้า ติดวาล์วปิด - เปิดไว้  2  ช่วง    เลาะไปตามลําห้วยลงสู่บ้านผาปกค้างคาว   ส่วนลําห้วยอิมิจะแยกไปลงลําห้วยนํ้าตกเก้าชั้นในส่วนไหนนั้นก็ต้องตรวจพิสูจน์กันอีกครั้ง
               นายณรงค์  พละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  และ พ.อ.มนิต   ศิริรัตนากุล  เสธนาธิการทหารกรมพัฒนาที่ 1   จึงขอให้ทุกฝ่ายหาข้อตกลงร่วมกันว่า  ในเดือนมีนาคมปีหน้านี้  จะทดลองปิดท่อส่งนํ้าดูว่า  นํ้าตกเก้าชั้นจะแห้งจากคํากล่าวของกลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นหรือไม่   และหากปิดท่อแล้วจะทําให้ชาวบ้าน 60 หลังคาเรือนขาดนํ้าหรือไม่  โดยจะมีการขึ้นไปทดสอบกันอีกครั้งในเดือนมีนาคมนี้  
             สำหรับกรณีพิพาทที่ทางผู้ประกอบการรีสอร์ทเองก็ยินดีให้ปิดท่อ   ดูว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่   แต่จะเกิดปัญหากับชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ไม่มีนํ้าใช้ในช่วงที่มีการปิด   ซึ่งก็ต้องรอดูกันเพื่อแก้ปัญหาต่อไป    

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ชาวเจ็ดเสมียนส่งหนังสือ

ชาวเจ็ดเสมียนส่งหนังสือบริษัทไฟฟ้าราชบุรีโฮลดริ้งถอนหุ้น
       เมื่อเวลา  11.00 น.วันที่  28  กันยายน  2554   นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านในอ.โพธาราม อ.จอมบึง อ.เมือง จ.ราชบุรี และชาวบ้านจาก จ.สมุทรสาคร จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว่า 150 คน นำโดยนายวีระยุทธ์ อิ่มศีล แกนนำชาวบ้านตำบลเจ็ดเสมียน  จ.ราชบุรี และ นายชัยณรงค์ วงศ์ศศิธร แกนนำชาวบ้านจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณวัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมตัวกันทำพิธีสาบานตนว่าจะช่วยกันต่อสู้และคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ราชบุรี ซึ่งจะมาก่อสร้างใน ต.เจ็ดเสมียน  โดยบริษัท ราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ที่ร่วมทุนกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีโครงการจะเข้ามาทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เนื่องจากใน จ.ราชบุรีในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้วถึง 6 โรง หากปล่อยให้มีการก่อสร้าง เกรงจะเกิดผลกระทบทั้งเรื่องของน้ำซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักจะไม่พอใช้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าจะต้องดูดน้ำไปใช้จำนวนมาก  รวมทั้งมลพิษทางเสียงและอากาศ จึงต้องรวมตัวกันคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้าง จากนั้นก็เคลื่อนขบวนไปที่หน้าบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพื่อทำการยื่นหนังสือกับนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ให้มีคำสั่งระงับและยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ทันที และไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในจ.ราชบุรีเพิ่มขึ้นอีก หลังจากรับหนังสือจากผู้ชุมชุนประท้วงนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้แทนเครือข่ายประชาชน ตำบลเจ็ดเสมียนและพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีความกังวลใจต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะมีขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ซึ่งเดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียน  เพื่อผ่านไปยัง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ให้ทบทวนการถอนหุ้นในโครงการดังกล่าว  โดยหลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งไปยัง ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป  เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในโครงการดังกล่าว สำหรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก กำลังผลิต 224 เมกะวัตต์ ที่ร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยเวอลด์ เพาเวอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  อีกร้อยละ 40 ซึ่ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เป็นเพียงบริษัทฯ ในเครือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เท่านั้นจึงไม่ใช่ผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว โดยได้ส่งมอบเรื่องดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชี้แจงต่อ ภาครัฐบาล ในฐานะเจ้าของนโยบายด้านพลังงานที่จะต้องบริหารการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงสูงสุด และผู้ถือหุ้น