บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชนภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ที่โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงโปรดให้ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เอกอัครราชทูต เปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา ออกตรวจเยี่ยมการดำเนินการโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งโครงการสัตว์ปลอดโรคฯ มีการดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 การดำเนินการเป็นการบูรณาการร่วมกันจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ทั้งนี้มีเป้าประสงค์ให้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกมีพันธสัญญาให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดจากโลกในปี พ.ศ. 2573
จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่เป้าหมายของการดำเนินโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะมีกิจกรรมการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชนมีกลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ คุณครู อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชุมชน ในการนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรมประมาณ 180 คน ซึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี มีข้อมูลประชากรสุนัขและแมวรวมทั้งสิ้น 206,673 ตัว ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไป 203,128 ตัว และผ่าตัดทำหมันไป 5,118 ตัว นอกจากนี้มีการจัดการฝึกอบรมให้กับอาสาปศุสัตว์จำนวนทั้งสิ้น 317 คน และในปีงบประมาณ 2567 มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อผลักดันให้เป็น อำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งได้แก่ อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอวัดเพลง ในจังหวัดราชบุรียังมีสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักพิงแก้วตาเพื่อสุนัขจร มีจำนวนสุนัขและแมวที่อยู่ในความดูแลรวม 1,180 ตัว และบ้านสงเคราะห์สุนัขปัาเอ๋ มีจำนวนสุนัขและแมวที่อยู่ในความดูแลรวม 400 ตัว

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

โรงไฟฟ้าราชบุรีลงนามความร่วมมือผลักดันใช้พลังงานสะอาด

พร้อมเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (เปลือกมะพร้าว)
นายจตุพร โสภารักษ์ กรรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เปิดเผยว่า “จากที่ในจังหวัดราชบุรี มีการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นจำนวนมาก และประสบปัญหาเรื่องการกำจัดเศษวัสดุจากการแปรรูปมะพร้าว โรงไฟฟ้าราชบุรี จึงได้ร่วมกับ บริษัท โรนิตรอน [Ronitron] และ บริษัท Nex Energy Systems Global Limited (NESG) ลงนามความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต SAF , Green Hydrogen, Green Naphtha และ Biochar ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ด้วยการแปรสภาพวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมและการเกษตร (เปลือกมะพร้าว) หวังแก้ไขปัญหาเศษวัสดุจากมะพร้าวน้ำหอมที่มีจำนวนมากและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
พร้อมมุ่งหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมาย Net Zero โดยการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะเป็นการหาแนวทางการพัฒนาโครงการที่สามารถเป็นไปได้ในพื้นที่โรงไฟฟ้า หลังจากหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ.แล้ว ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศความมุ่งมั่นความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2570 ของ บมจ.ราชกรุ๊ปที่ได้ตั้งเป้าขยายการลงทุนในธุรกิจสีเขียวในอนาคตในอนาคตต่อไปด้วย”

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี คณะกรรมาธิการับฟังปัญหาปุ๋ยแพงเร่งแก้ใข

คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ลง รับฟังสภาพปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้กรณีปัญหาราคาปุ๋ยแพง ที่ส่งผลให้การบริหารจัดการมีต้นทุนที่สูงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมอำเภอดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร สส.ราชบุรี เขต 2 ประชุมคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดราคาปุ๋ย เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้กรณีปัญหาราคาปุ๋ยแพง ที่ส่งผลให้การบริหารจัดการมีต้นทุนที่สูงขึ้น อันเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภค โดยมี นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นางสาววริษฐา สงวนเสริมศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี นายชัยทิพย์ กมลพันธุ์ทิพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดราชบุรี เขต 5 นายสุชัช สายกสิกร ผู้ใหญ่หมู่ที่ 1 ต.ดอนไผ่ และเกษตรกรชาวอำเภอดำเนินสะดวก เข้าร่วมรับฟังปัญหา วิกฤตอาหารในระดับโลกที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น จะทำให้เป็นโอกาสของเกษตรกรที่ปลูกพืช แต่ต้นทุนปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรของประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาในตลาดกลับไม่ได้ปรับขึ้นตามราคาของสินค้าอื่นๆ
โดยนายสุชัช สายกสิกร ตัวแทนเกษตรกร กล่าวถึงปัญหา เนื่องจากรายการลคราคาปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงพานิชย์ ไม่มีสูตรปุ้ยที่ใช้กับไม้ผลพืชสวนและไม้ผลพืชไร่ เช่น ส้ม มะนาว องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ มะพร้าว ทุเรียน เงาะ ลำใย ทั้งหมดนี้เป็นพืชที่ต้องการใช้ปุยปริมาณมากกว่าพืชไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดตามความต้องการของผู้บริ โภค และให้ทันกับช่วงราคาของผลผลิตที่เกมตรกรต้องการ เพื่อให้คุ้มกับตันทุนที่ลงทุนในแต่ละครั้งของช่วงเก็บเกี่ยวจะมีการใช้ปุ๊ยเกือบตลอดทั้งปีของการผลิตไม้ผล จึงทำให้ใช้ปุ๊ขมากกว่าพืซไร่ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลังปาล์ม และยางพารา ซึ่งพืชทั้ง 5 ชนิดนี้ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าจึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงขอความอนุเคราะห์ จากหน่วยงานภาครัฐ ให้ช่วยลคราคาปุ้ยทั้งสองกลุ่มนี้ให้เหมือนกัน
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ ได้กล่าวถึง แนวทางการแก้ปัญหา ปุ๋ยแพง ด้วยนำนโยบาย ปุ๋ยคนละครึ่ง ประชาชนจะได้ใช้ปุ๋ยในราคาถูก โดยรัฐบาลจะเข้าไปอุดหนุน 50 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนลดลง จะสามารถแก้ปัญหาเกษตรกรที่ปุ๋ยแพง ยกระดับคุณภาพชีวิต สามารถลดต้นทุนการผลิตจะทำให้ มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นสร้างงานสร้างรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปุ๋ยคนละครึ่ง จะเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง จะมีรายได้ที่สูงขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน อย่างยั่งยืน

ราชบุรี สาวหล่อ หอบสินสอด 5 แสน ขอพยาบาลสาวแต่งงาน

สาวหล่อ หอบสินสอด 5 แสน ขอพยาบาลสาวแต่งงาน หลังคบหาดูใจกันมา 3 ปี เผยรู้จักกับแฟนสาวในที่ทำงาน จึงตัดสินใจปรึกษาผู้ใหญ่ ทำพิธีสู่ขอตามประเพณี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลารวมใจ เทศบาลเมือง ราชบุรี ได้มีเจ้าบ่าว ขนสินสอดเงิน 5 แสน ทอง 2 บาท และแหวนเพชร 1 วง จัดพิธีแต่งงาน จนเป็นที่ฮือฮาของชาวบ้านที่ทราบข่าว เจ้าบ่าวที่มาสู่ขอเป็นสาวหล่อ ทราบชื่อ นส. สุบงกช ทิมพิทักษ์ หรือ อ๋อม อายุ 42 ปี ชาว จ.ราชบุรี เป็นนักวิชาการทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล จ.ราชบุรี หลังคบหาดูในกันมากว่า 3 ปี ความรักสุกงอม จึงจัดขบวนขันหมากมาที่ศาลารวมใจ โดยมี นส.ศรีสุดา อิ่มรักษ์ หรือ แนน อายุ 26 ปี เป็นชาว จ.ขอนแก่น เดินทางมา เรียนพยาบาล จ.เพชรบุรี หลังจากจบเข้ามาทำงานโรงพยาบาล จ.ราชบุรี จนได้คบหาดูใจกันมาจนตัดสินใจแต่งงาน ภายในงานมี บรรดาญาติและแขกของทั้ง 2 ฝ่ายที่เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว เพื่อร่วมเป็น สักขีพยานในการแต่งงาน จำนวนมาก
ขบวนขันหมาก พอ.ไพรวัน เอี่ยมคะนา ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงพานิชย์ ในฐานะผู้ใหญ่ทางฝ่ายเจ้าบ่าว ได้นำสินสอดทองหมั้นประกอบด้วย เงินสด 5 แสนบาท ทองคำรูปพรรณหนัก 2 บาท แหวนเพชร 1 วง ทำพิธีสู่ขอ ก่อนที่คู่บ่าว-สาวจะทำพิธี แต่งงานและรดน้ำสังข์ พร้อมรับประทานอาหารร่วมกัน ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นไปอย่างชื่นมื่น นส. สุบงกช ทิมพิทักษ์ และ นส.ศรีสุดา อิ่มรักษ์ เปิดเผยว่า ได้มาเจอกันที่วอร์ดมาทำงานเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาล และฝ่ายเจ้าบ่าวก็ ได้มาทำงานติดกับวอร์ด ซึ่งเป็นห้องพักแพทย์ จะเข้าไป คอยดูแล นักศึกษาแพทย์ และไปเจอน้องเขาน่ารักก็ได้พูดคุย จากนั้นได้คบหาดูใจกันเรื่อยมา นำเรื่องราวความรักไปปรึกษาผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายว่ามีความเห็นอย่างไร เพราะเป็นความรักระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เห็นดีด้วย โดยไม่ คัดค้าน จึงหาฤกษ์ ทำพิธีสู่ขอแต่งงานตามประเพณี. คิดว่าเป็นความรักจนทำให้ถึงจุดนี้ เพื่อสร้างครอบครัว ที่อบอุ่น