บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี งานวันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ

งานวันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จัก
นายนคร ศิวิลัย นายอำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า อำเภอปากท่อ ถือเป็นแหล่งปลูกมะม่วงมากที่สุดในจังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งรวมมะม่วงที่มีคุณภาพของประเทศไทย เนื่องจากมีรสชาติดี และคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยจากสารเคมี มีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 9500 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ รองลงมา คือ พันธุ์แก้วลืมรัง หนังกลางวัน ทองดำ เขียวเสวยและฟ้าลั่น โดยส่งจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ และมาเลเซี่ย ไม่น้อยกว่า 700 ตันต่อปี โดยในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี ผลผลิตมะม่วงจะออกตามฤดูกาลเป็นจำนวนมากและมีรสชาติอร่อยมาก เป็นที่นิยมของคนทั่วไป และยังมีของดีอีกมากมาย เช่น ด้านปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์ จึงได้จัดงาน วันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ ครั้งที่ 25 ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักโดยท
สำหรับนในครั้งนี้จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 ถึง 28 เมษายน บริเรอบที่อำเภอปากท่อ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์"หนึตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" การออกร้านแสดงสินค้า และกมต่าง ๆ มากมาย ภายในงานจะได้พบกับ ลานตลาดชุมชน ได้ขึ้นเขาน้อย เพื่อนมัสการท้าวมหาพรหม นิทรรศการวิถีชีวิต พี่น้อง 7 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยทรงดำ ไทยกะเหรี่ยง ไท-ยวน ไทยจีน ไทยลาวเวียง ไทยเขมรลาวเดิม ไทยพื้นถิ่น อาหารพื้นบ้าน เลือกซื้อมะม่วงผลและผลิตภัณฑ์มะม่วง สินค้า OTOP ของพี่น้องชาวปากท่อ และ กิจกรรมในแต่ละวัน เช่น การประกวด Dancer กลุ่มสตรีอาสา การประกวดมะม่วงสายพันธุ์ต่าง ๆการประกวดธิดามะม่วงอำเภอปากท่อ การแสดงวัฒนธรรม 7 ชาติพันธ์ การแข่งขันศึกวันดวลเพลงการประกวดส้มตำผลไม้ลีลา การประกวดอาหารหมู ๆ และสุดยอดอาหารอร่อย ไม้ผลคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน สับปะรด ลำไยและ การประกวดชันโรง นอกจากนี้ในแต่ละคืนท่านจะได้พบกับศิลปินดังทั่วฟ้าเมืองไทยอีกมากมาย

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี สงกรานต์ กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัว

อบต.คูบัว จัดโครงการจัดงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธุ์ตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัวหล่อหลอมจิตใจของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวํโส เจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี ประธานฝ่ายสงฆ์ นายประยง พิมเพราะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ประธานฝ่ายจัดงานโครงการจัดงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 โดยมีนางสาวกุลวลี นพอมรบดี สส.ราชบุรี นางจรรยา พิมเพราะ รองนายก อบต.คูบัว กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา อบต., กลุ่มแม่บ้าน, กลุ่ม อสม. ตำบลคูบัว เข้าร่วมงาน โดยนายธนพงษ์ ปัญญากาญจน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว กล่าวถึงการจัดงาน เนื่องจากจังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านเชื้อชาติพันธุ์ ซึ่งการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติพันธุ์ก็มีความเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามวัฒนธรรมของตน กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัว เป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพเคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสนมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดราชบุรีประมาณ 200 ปีเศษมาแล้ว ดังนั้นประเพณีวัฒนธรรมของชาวไท-ยวนจึงมีลักษณะเหมือนกับประเพณีวัฒนธรรมของชาว ล้านนา
ทางด้าน นางจรรยา พิมเพราะ กล่าวว่า เสน่ห์ประเพณีวัฒนธรรมไท-ยวน จึงมีนักท่องเที่ยวต่างพื้นที่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ตำบลคูบัวเป็นประจำ โดยมองเห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของวิถีชาวบ้าน ทั้งในเรื่องการทอผ้าตีนจก เยี่ยมชมวัดอารามต่างๆ ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวไท-ยวน ผ่านทางพิพิธภัณฑ์ และโบราณสถนสมัยทวาราวดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงประเพณีสงกรานต์ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของชาวไท-ยวนบ้านคูบัว อันสืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของแต่ละปี เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์"
องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว จึงได้จัดกิจกรรมขึ้น ภายใต้ "โครงการจัดงานสืบ สานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2567" โดยมีขบวนแห่วัฒนธรรมไท-ยวน, กิจกรรมสรงน้ำพระ, รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, ก่อพระเจดีย์ทราย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ทำบุญตักบาตร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตำบลคูบัวด้านประเพณีวันสงกรานต์ในท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สร้างสายสัมพันธ์ของชุมชน ให้ข้าราชการ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนพ่อค้าประชาชน มีความเข้มแข็ง หล่อหลอมจิตใจของคนในชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเกิดความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบสานอนุรักษ์ฟื้นฟู วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีวันสงกรานต์ ในท้องถิ่นตำบลคูบัวให้คงอยู่สืบไป