บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เชียงใหม่อ่วมน้ำท่วมหนัก

ภัยพิบัติน้ำท่วมเชียงใหม่รวม7ปีซ้ำรอยปี 2548ซึ่งปีนั้นเชียงใหม่ถูกน้ำจากแม่ปิงเอ่อล้นฝั่งท่วมเชียงใหม่ถูกน้ำท่วมเชียงใหม่ถึง 3 ครั้งในต้นเดือนกันยายน,กลางเดือนละต้นเดือนตุลาคม 48 และในปี 2554 ก็ท่วมอีกใน 28 ก.ย. 254 จากผลของพายุพายุดีเปรสชั่นโห่ถางทำให้ภาคเหนือฝนตกหนักและเกิดภัยพิบัติน้ำป่าไหลดิบโครนถล่ม อ.ฝาง,อ.แม่แตง เสียหายกว่า 20 หลังคาเรือนและเสียชีวิต 7 ราย และน้ำได้ไหลล้นอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว และ อ่างแม่แตงเข้า ท่วมบ้านเรือนอย่างฉับพลันใน อ.แม่แตง อ.สันกำแพง หลายร้อยหลังคาเรือนและลงแม่น้ำปิงทำให้น้ำมีระดับสูงอย่างรวดเร็วเกินกว่าจะป้องกันทับน้ำท่วมถนนในอ.เมืองหลายสายโดยเฉพาะย่านเศรษกิจไนท์พลาซ่าของเชียงใหม่และย่านธุรกิจถนนช้างคลานเสียหายตมอยู่ในน้ำ สร้างความเสียหายทางเศรษกิจของ เชียงใหม่กว่า 5000 ล้านแล้ว ซึ่ง มล.ปนัดดา ดิศกุล  ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือบรรเบาทุกข์และตรวจเยี่ยม สถานการณ์ทุกอำเภอที่ประสบภัยซึ่งได้ลุกลามไปถึง อ.สารภี, อ.สันป่าตอง อ.หางดง ต่อไปแล้ว และได้กล่าวว่าน้ำท่วมปีนี้นับว่าน้ำแม่ปิงสูงสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียวและท่วมนาน 4วัน ทำให้เป็นปีที่เชียงใหม่ประสมภัยพิบัติจากน้ำท่วมร้ายแรงที่สุดเท่าที่มีมาในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ศึกแย่งนํ้ากลุ่มรีสอร์ท

รองผู้ว่าราชบุรีลงพื้นที่หย่าศึกแย่งนํ้ากลุ่มรีสอร์ท ชาวบ้าน  กลุ่มเครือข่ายนํ้าตกเก้าชั้น                                             
                              นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี   พ.อ.มนิต  ศิริรัตนากุล  เสธนาธิการทหารกรมพัฒนาที่ 1 จังหวัดราชบุรี  นายสมศักดิ์  เหลืองจรุงรัตน์  นายกองค์การบริหารส่วนตําบลสวนผึ้ง    เจ้าหน้าที่โครงการฟื้นฟูธรรมชาติ  โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้น ( เก้าโจน )   กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ท พร้อมชาวบ้าน    เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจค่ายทัพยาเสือ  กองกําสุรสีห์   และตํารวจตระเวนชายแดนที่ 137  อําเภอสวนผึ้ง  เดินเท้าเข้าป่าลึกระยะทางขึ้นลงเขาไป - กลับราว 15 กิโลเมตร   บริเวณป่าดิบชื้นบนเทือกเขาตะนาวศรี   เขตติดต่อชายแดนไทย พม่า  หมู่ที่  ตําบลสวนผึ้ง   อําเภอสวนผึ้ง  จังหวัดราชบุรี    หลังจากเกิดปัญหาความขัดแย้ง  เปิดศึกแย่งชิงนํ้าเป็นปัญหาเรื้อรังมานานในช่วงหน้าแล้งระหว่างเดือนมีนาคม พฤษภาคมของทุกปี  มีการประชุมแก้ปัญหาหลายครั้งแต่ยังตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ทบางแห่งขึ้นไปสร้างฝายกักนํ้า  ต่อท่อส่งนํ้าลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อการบริโภค และการเกษตร     ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นอ้างว่า    ถูกต่อท่อนํ้าไปใช้ในรีสอร์ทจนทําให้นํ้าตกเก้าชั้นไม่มีนํ้า   ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม  ของทุกปี
              ทางด้าน นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  กล่าวว่า  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาลดความขัดแย้งจึงได้เชิญ กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ท ชาวบ้าน  กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้น  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ขึ้นไปตรวจสอบข้อเท็จจริง    ให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และแก้ปัญหาจัดการเรื่องนํ้าร่วมกัน  เพราะทุกฝ่ายก็มีความจําเป็นเรื่องนํ้า     ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการรีสอร์ทได้ว่าจ้างชาวบ้านในพื้นที่ต่อท่อนํ้า  พีวีซี  ขนาดประมาณ 8 นิ้ว  จากต้นนํ้าห้วยอิมิ  อยู่ติดกับชายแดนไทย พม่า เพียง 300  เมตร  ในราคากิโลเมตรละ  100,000  บาท  เป็นระยะทาง  7  กิโลเมตรร่วม  700,000  บาท    ปล่อยนํ้ามาตามท่อลงสู่หมู่บ้านผาปกค้างคาว   เพื่อใช้ในรีสอร์ทส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านกว่า  60  หลังคาเรือนในหมู่บ้านผาปกค้างคาว  หมู่บ้านห้วยนํ้าขาว  หมู่บ้านหัวสาม    และสํานักสงฆ์บ้านหัวสาม  หมู่ที่  ได้ใช้จากท่อนํ้านี้เพื่ออุปโภค  บริโภค  และทําการเกษตร  และห้วยที่มีการต่อท่อนํ้านั้นไม่ใช่ลําห้วยที่ไหลลงสู่นํ้าตกเก้าชั้น  อย่างที่กลุ่มเคลือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นเข้าใจ   
                ขณะที่กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นชี้ว่า  ลําห้วยดังกล่าวเป็นลําห้วยต้นนํ้าที่ไหลผ่านนํ้าตกเก้าชั้น    หากมีการต่อท่อจะทําให้นํ้าไหลไปยังนํ้าตกเก้าน้อยน้อยลง    ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเพราะไม่มีนํ้า    และยังมีชาวบ้าน    บ้านห้วยผากหมู่ที่  7   ก็ใช้นํ้าจากลําห้วยบ่อคลึง  ที่แยกจากนํ้าตกเก้าชั้นแห่งนี้ด้วย    ทําให้เกิดการโต้เถียงกันขึ้นทั้งสองฝ่ายอย่างไม่จบสิ้น   ทางจังหวัดจึงได้นัดหมายผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันขึ้นไปตรวจพิสูจน์    เพื่อลดการขัดแย้งกันในครั้งนี้
              จากการตรวจพิสูจน์พบว่า  แหล่งต้นนํ้านั้นไหลมาจากเทือกเขาตะนาวศรี  และมีการกั้นฝายต่อท่อนํ้า ติดวาล์วปิด - เปิดไว้  2  ช่วง    เลาะไปตามลําห้วยลงสู่บ้านผาปกค้างคาว   ส่วนลําห้วยอิมิจะแยกไปลงลําห้วยนํ้าตกเก้าชั้นในส่วนไหนนั้นก็ต้องตรวจพิสูจน์กันอีกครั้ง
               นายณรงค์  พละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  และ พ.อ.มนิต   ศิริรัตนากุล  เสธนาธิการทหารกรมพัฒนาที่ 1   จึงขอให้ทุกฝ่ายหาข้อตกลงร่วมกันว่า  ในเดือนมีนาคมปีหน้านี้  จะทดลองปิดท่อส่งนํ้าดูว่า  นํ้าตกเก้าชั้นจะแห้งจากคํากล่าวของกลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการนํ้าตกเก้าชั้นหรือไม่   และหากปิดท่อแล้วจะทําให้ชาวบ้าน 60 หลังคาเรือนขาดนํ้าหรือไม่  โดยจะมีการขึ้นไปทดสอบกันอีกครั้งในเดือนมีนาคมนี้  
             สำหรับกรณีพิพาทที่ทางผู้ประกอบการรีสอร์ทเองก็ยินดีให้ปิดท่อ   ดูว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่   แต่จะเกิดปัญหากับชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ไม่มีนํ้าใช้ในช่วงที่มีการปิด   ซึ่งก็ต้องรอดูกันเพื่อแก้ปัญหาต่อไป    

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ชาวเจ็ดเสมียนส่งหนังสือ

ชาวเจ็ดเสมียนส่งหนังสือบริษัทไฟฟ้าราชบุรีโฮลดริ้งถอนหุ้น
       เมื่อเวลา  11.00 น.วันที่  28  กันยายน  2554   นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านในอ.โพธาราม อ.จอมบึง อ.เมือง จ.ราชบุรี และชาวบ้านจาก จ.สมุทรสาคร จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว่า 150 คน นำโดยนายวีระยุทธ์ อิ่มศีล แกนนำชาวบ้านตำบลเจ็ดเสมียน  จ.ราชบุรี และ นายชัยณรงค์ วงศ์ศศิธร แกนนำชาวบ้านจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณวัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมตัวกันทำพิธีสาบานตนว่าจะช่วยกันต่อสู้และคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ราชบุรี ซึ่งจะมาก่อสร้างใน ต.เจ็ดเสมียน  โดยบริษัท ราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ที่ร่วมทุนกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีโครงการจะเข้ามาทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เนื่องจากใน จ.ราชบุรีในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้วถึง 6 โรง หากปล่อยให้มีการก่อสร้าง เกรงจะเกิดผลกระทบทั้งเรื่องของน้ำซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักจะไม่พอใช้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าจะต้องดูดน้ำไปใช้จำนวนมาก  รวมทั้งมลพิษทางเสียงและอากาศ จึงต้องรวมตัวกันคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้าง จากนั้นก็เคลื่อนขบวนไปที่หน้าบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพื่อทำการยื่นหนังสือกับนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ให้มีคำสั่งระงับและยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ทันที และไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในจ.ราชบุรีเพิ่มขึ้นอีก หลังจากรับหนังสือจากผู้ชุมชุนประท้วงนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้แทนเครือข่ายประชาชน ตำบลเจ็ดเสมียนและพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีความกังวลใจต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะมีขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ซึ่งเดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียน  เพื่อผ่านไปยัง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ให้ทบทวนการถอนหุ้นในโครงการดังกล่าว  โดยหลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งไปยัง ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป  เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในโครงการดังกล่าว สำหรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก กำลังผลิต 224 เมกะวัตต์ ที่ร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยเวอลด์ เพาเวอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  อีกร้อยละ 40 ซึ่ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เป็นเพียงบริษัทฯ ในเครือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เท่านั้นจึงไม่ใช่ผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว โดยได้ส่งมอบเรื่องดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชี้แจงต่อ ภาครัฐบาล ในฐานะเจ้าของนโยบายด้านพลังงานที่จะต้องบริหารการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงสูงสุด และผู้ถือหุ้น

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

จัดงานเศรษฐกิจพอเพียง

         

  จัดงานเศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวีสุขภาพดีมีรายได้เพิ่ม
                บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดราชบุรี   นายสุเทพ  โกมลภมร  ผู้ว่าราชการจังหวัด เปิดการเสวนาการจัดการความรู้    เศรษฐกิจพอเพียง  หล่อเลี้ยงชีวิต  สุขภาพดี  มีรายได้เพิ่ม ”   มีนายณรงค์  ครองชนม์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวถึง  การจัดงานสืบเนื่องจากกรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2554  ในมิติที่  4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร  ตัวชี้วัดที่  11  ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ   การวัด  วิเคราะห์  และการจัดการความรู้      ได้กำหนดเกณฑ์พัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน   จัดทำแผนจัดการความรู้และนำไปปฏิบัติอย่างน้อย  3  องค์ความรู้  พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ได้สำเร็จครบถ้วนทุกกิจกรรม     ผลลัพธ์การดำเนินการ  ประกอบการพิจารณา  ตามตัวชีวัด  PMQA   จังหวัดได้มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ     ช่วยกันขับเคลื่อนตัวชี้วัดในแต่ละหมวด  คณะทำงานฯได้ร่วมกันพิจารณาให้มีการจัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้  องค์ความรู้  และกิจกรรมที่มีการปฏิบัติที่ดีที่สุด  ของจังหวัดภายใต้กรอบแนวคิด    เศรษฐกิจพอเพียง  หล่อเลี้ยงชีวี  สุขภาพดี  มีรายได้เพิ่ม ”  โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมกิจกรรมคือ  สำนักงานคลังจังหวัด  ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง  การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ”  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด  ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง    การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ”   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล”  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดจัดกิจกรรม  Ratchaburi  Goats  Center    ซึ่งเป็นกิจกรรม  Best  Practice  ของจังหวัด  โดยได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำจนเกิดผลสำเร็จในวันนี้
              ซึ่งภายในงานจัดให้มีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดํา  กิจกรรมการเลี้ยงแพะขาวเพื่อผลิตนมแพะ  ร่วมไปถึงเรื่องพืชผัก  ผลไม้ทางการเกษตร  ตามแบบเศรษบกิจพอเพียงในการเพิ่มรายได้แก่ประชาชน   

เครื่องบินบังคับททุกโทรศัพย์มือถือตกกลางไร่มัน

เครื่องบินบังคับททุกโทรศัพย์มือถือตกกลางไร่มัน
             เมื่อเวลา  09.30  น.วันที่  24  กันยายน  2554   ร.ต.ท.ไพโรจน์     บุญยินดี   พนักงานสอบสวน  สภ.  เมือง  จ.ราชบุรี  ได้รับแจ้งว่ามีผู้พบเครื่องบินบังคับ  บรรทุกโทรศัพท์มือถือตกอยู่กลางไร่มันสำปะหรังหมุ่ที่ 6  ต.น้ำพุ  อ.เมือง  จ.ราชบุรี  จึงรายงานให้  พ.ต.อ.อาคเนย์  แดงด้อมยุทธ    ผกก.สภ.  เมือง  ราชบุรี   พร้อมทั้งเดินทางไปที่เกิดเหตุ   พบเฮลิคอปเตอร์  บังคับวิทยุ  ยี่ห้อ  ALIGN  รุ่นที่  700  HEIICOPTER   ชนิดทำงานด้วยแบตเตอรี่  จำนวน  1  ลำ
ที่บริเวณฐานของเครื่องบินดังกล่าวยึดติดกับกล่องพลาสติกสีขาว  มีฟองน้ำสีดำห่อหุ้ม  ตกอยู่ภายในไร่มันสัมปะหรัง    ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจสอบภายในกล่องพลาสติกพบ
โทรศัพท์มือถือโนเกีย รุ่น  5310  จำนวน  7  เครื่อง   โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม  ยี่ห้อINMARSAT  จำนวน  2  เครื่องโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม  ยี่ห้อ  ACES  จำนวน  2 เครื่อง  ซิมการ์ด
โทรศัพท์  จำนวน  6  ห่อ     แบตเตอรี่  โนเกีย  จำนวน  8  ก้อนและแผงจอโทรศัพท์มือถือ  จำนวน  3  อัน  จึงได้เก็บรวบรวมใว้เป็นหลักฐาน
      จากการสอบสวนนายสัมพันธ์   เจียมประจบ   อายุ  38  ปี  บ้านเลขที่ 1/7  หมู่  6  ต.น้ำพุ  อ.เมือง  จ.ราชบุรี   ให้การว่า ในเวลาเช้าได้ออกมาทำไร่ตามปรกติเมือเข้ามาถึงไร่มันสัมปะหรังก็พบเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวตกอยู่ในไร่แต่ไ/ม่พบใครอยู่ในที่เกิดเหตุ จึงได้แจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ   ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ห่างจากเรือนจำเขาบินประมาณ  1  กม.คาดว่าคนร้ายพยายามนำเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์  บังคับวิทยุ  บรรทุกโทรศัพท์มือถือ  ส่งเข้าไปในเรือนจำแต่แต่เครื่องบินดังกล่าวอาจจะน้ำหนักเกินหรือเกิดขัดข้องทำให้ตกลงมาคนร้ายกลัวว่าจะมีคนมาพบเห็นจึงได้หลบหนีไป  ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ติดตามสอบสวนหาตัวคนร้ายรายนี้มาเพื่อดำเนินคดีต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

รมว.แรงงานยํ้าส่งเสริมอัตราค่าจ้าง

รมว.แรงงานยํ้าส่งเสริมอัตราค่าจ้าง
         นายเผดิมชัย   สะสมทรัพย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เป็นประธานการสัมมนาการส่งเสริมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ  22  สาขาอาชีพ  ระดับภาค  ที่โรงแรมเวสเทริ์นแกรนด์  อําเภอเมือง   จังหวัดราชบุรี    มีนายสุเทพ  โกมลภมร  ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี   กล่าวให้การต้อนรับ  นายแพทย์สมเกียรติ  ฉายะวงศ์  ปลักกระทรวงแรงงาน  กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา  
        เนื่องจากปี  2551  กระทรวงแรงงาน   ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  ว่าด้วยคณะกรรมการค่าจ้าง    เพื่อขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง   ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ  ซึ่งจะใช้กับนายจ้างและลูกจ้างทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าลูกจ้างนั้น  จะมีสัญชาติใด  ขณะนี้ได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้ว  2  ฉบับ  ครอบคลุม  22  สาขาอาชีพ  ฉบับแรกมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่  28  กรกฎาคม  2554  ฉบับที่  2   มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  6  ตุลาคม  2554  โดยราชบุรีถือว่าของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของภาคที่รวมของ  7  จังหวัด      เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานที่สนใจจะยกระดับฝีมือแรงงาน จากไม่มีฝีมือแรงงานเลยมาถึงกึ่งฝีมือ  และพัฒนาขึ้นไปถึงแรงงานที่สมบูรณ์แบบ  ที่เรียกว่าชำนาญการ  วันนี้มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก  ทำให้ค่าครองชีพดีขึ้นตามฝีมือที่ได้รับอบรมไปแล้ว  ซึ่งอนาคตจะมีเพิ่มเติมอีก  11  สาขาอาชีพด้วย  
          นายเผดิมชัย   สะสมทรัพย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน   กล่าวว่า  ส่วนค่าแรงตามนโยบายพรรคที่ได้ประกาศออกไประหว่างก่อนหาเสียง  ทำให้ค่าแรงของพี่น้องทั้งประเทศเป็น  300  บาท  ตามสิ่งที่เราได้ทำสัญญาประชาคมไว้   แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่สอดคล้องกัน  ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่ไม่ว่าจะเป็นราชบุรีก็จะได้รับความยุติธรรมเช่นกัน  โดยตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำประกอบด้วยไตรภาคีจะประกอบด้วย  นายจ้าง  ลูกจ้าง  รัฐบาลจะต้องเห็นพ้องต้องกัน  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายเหมือนในอดีตมา  ว่าทำไมต้องมีจังหวัดพะเยาที่มีค่าแรงขั้นต่ำ  159  บาท  และจังหวัดภูเก็ตที่มีอัตราค่าจ้างสูงที่สุด  และอนาคตจะมีการแข่งขันกันในเวทีการค้าโลกอย่างเข้มข้น  มีการจัดเขตการค้าเสรีกับนานาประเทศ  เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศของตนและประเทศสมาชิก  โดยไทยก็ต้องเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก  ต้องแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง  ในปี  2558  จะเริ่มการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภูมิภาคอาเซียนหรือ  AEC  2015  ซึ่งไทยจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้  จำเป็นต้องมีองค์ความรู้  เทคโนโลยี  การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะ  แรงงานไทย  ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตและการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ  และเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่มุ่งให้มีการคุ้มครองดูแลทั้งลูกจ้างและนายจ้างให้ได้รับประโยชน์  เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย  ทั้งนี้ได้มีการกำหนด  7  จังหวัดนำร่องของประเทศที่จะได้รับอัตราค่าจ้าง  300  บาทแล้ว  คือ  กรุงเทพมหานคร  จังหวัดนนทบุรี  จังหวัดสมุทรปราการ  จังหวัดนครปฐม  จังหวัดภูเก็ต  จังหวัดสมุทรสาคร  จังหวัดปทุมธานี  มีผลวันที่  1  มกราคม  ปี  2555  
            ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีผู้ใช้แรงงานเข้าร่วมกว่า 500 คน  พร้อมทั้งมอบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบด้านฝีมือแรงงานในสาขาต่าง  ๆ ด้วย
 
                  

ราชบุรีเตรียมหาทางช่วยเหลือเยี่ยวยาสัตว์ป่าที่เขาสน








ราชบุรีเตรียมหาทางช่วยเหลือเยี่ยวยาสัตว์ป่าที่เขาสน

          ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  ตําบลรางบัว  อําเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี  นายณรงค์  ครองชนม์  รองผู้ว่าราชการจังหวัด    ตรวจสอบและติดตามผลการดําเนินงานเลี้ยงดูสัตว์ป่าของกลางที่จับกุมได้จากการลักลอบค้าสัตว์ป่าในเขตพื้นที่ภาคกลาง   ที่นํามาพักฟื้นเลี้ยงดูที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน   ตําบลรางบัว    แต่ปัจจุบันการเลี้ยงดูสัตว์ป่าของกลางมีปัญหาเรื่องของการที่สัตว์ป่ามีการขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น   ทําให้กรงขังที่มีไม่เพียงพอ  และเกิดชํารุดทรุดโทรมไปบาง  ไม่พอต่อปริมาณของสัตว์   สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  มีสัตว์จํานวน  74  ชนิด  ทั้งสัตว์เลื้อยคลาน ประเภท งู  ตัวเงินตัวทอง   สัตว์ปีกจําพวกนก  ชนิดต่าง ๆ   และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม   มีมากกว่า 20 ชนิด  ที่สําคัญโดยเฉพาะตัวตะกวด  และตัวเงินตัวทอง  ที่มีอยู่กว่า  2,000  ตัว   ซึ่งเป็นสัตว์สงวนที่อยู่ตามชายคาบ้านเรือนประชาชน  และสร้างปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน     เมื่อได้รับแจ้งทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องไปจับมาขังอยู่รวมกันจํานวนมาก    อีกทั้งสัตว์ประเภทอื่น ๆ  ที่ออกลูกออกหลานจนปริมาณประชากรสัตว์ในสถานีเพาะสัตว์ป่าเขาสนเพิ่มมากขึ้น     มีสัตว์ใหญ่ประเภท  เสือโคร่งประมาณกว่า  10  ตัว ที่มีพ่อแม่พันธุ์  ทําการขยายพันธุ์    กินอาหารประเภทเนื้อหมู ไก่  ครั้งละกว่า  85  กิโลกรัม  หรือ   57  กิโลกรัมต่อตัวต่อครั้ง      หมีขอ  หมีควาย    อีเห็น  ชะมด  ลิงซิมแฟนซี    ลิงอุรังอุตัง   แต่ที่อยู่อาศัยกรงขังมีน้อย   และยังไม่ได้สามารถฐาน    อีกทั้งค่าใช่จ่ายเรื่องของอาหารในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นแต่ละเดือนกว่าแสนบาท
               นายวินนท์   วิระนะ   หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  กล่าวว่า  สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนมีพื้นที่ประมาณ  2,180 ไร่  จึงได้นําพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกผัก  และผลไม้  เช่น  มะละกอ  กล้วย  มัน  ที่เป็นอาหารสําหรับสัตว์ปีกอย่าง นก  และตระกูลลิง  ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินผลไม้  และผัก  แต่ที่สําคัญคือกรงขังที่อยู่อาศัยของสัตว์  ขณะนี้ชํารุดทรุดโทรมมาก  โดยเพราะกรงเสือต้องนําเครื่องอ๊อกเหล็กมาเชื่อมเพื่อซ่อมแซม  หลังจากมีเหตุการเสือที่ชื่อมะละวัณย์เพศเมีย  อายุ  24  ปี ตะปบคนเลี้ยงดูได้รับบาดเจ็บเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา  เนื่องจากกรงเสือมีชํารุดหลายแห่งเพราะก่อสร้างมาหลายปีแล้ว   
   นายณรงค์   ครองชนม์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  กล่าวว่า  จากการตรวจสอบติดตามผลการดําเนินงานพบปัญหาเรื่องของกรงขังเสือโคร่งมีไม่เพียงพอ    กรงขังลิงอุรังอุตังเกิดการชํารุด   และงบประมาณค่าอาหารที่เลี้ยงดูตลอดปีก็หมดไปเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา   จึงให้หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  ทํารายงานและโครงการเสนองบประมาณมายังจังหวัดในการของบประมาณช่วยเหลือเบื้องต้น  และให้ประชาสัมพันธ์โครงการพ่อแม่อุปภัมถ์  ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสัตว์ป่าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบ   ในการช่วยเหลือชีวิตสัตว์เหล่านี้ให้มีอาหารกินเพียงพอ   และทำให้สัตว์ป่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

 

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

เจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนพลาดท่าถูกเสือตะปบบาดเจ็บ

เจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนพลาดท่าถูกเสือตะปบบาดเจ็บ

               เมื่อเวลา  12.30 น.  วันที่  3  กันายน  2554   นายวินนท์  วิระนะ  หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  ตําบลรางบัว  อําเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี   ได้รับแจ้งว่า นายสมชาย  จันทร  อายุ  34  ปี  บ้านเลขที่  116 หมู่ที่ 4  ตําบลธรรมเสน  อําเภอโพธาราม   จังหวัดราชบุรี  เป็นเจ้าหน้าที่เลี้ยงสัตว์อยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ถูกเสือตะปบเข้าที่บริเวณขมับขวายาวถึงแก้ม เย็บ  14 เข็ม  บริเวณกลางหลัง  เอว และข้อศอกขวาถูกรอยเล็บเสือข่วน  จึงช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อําเภอจอมบึง  ให้แพทย์เย็บบาดแผลรักษาโดยด่วน
           สาเหตุเนื่องนายสมชาย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เลี้ยงสัตว์อยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน   ได้เข้าไปทําความสะอาดกรงขนาดเล็กที่ขังเสืออยู่  และให้อาหารมื้อสุดท้ายในรอบสัปดาห์  ก่อนจะย้ายเสือไปอยู่กรงใหญ่    ซึ่งมีพื้นที่กว้าง    ขณะเปิดประตูกรงเล็ก        เพื่อปล่อยเสือเข้ากรงขนาดใหญ่ โดยที่นายสมชายไม่ได้ทันระวังตัว  เสือกระโดดเข้าใส่ใช้เล็บตะปบจนได้รับบาดเจ็บ ดังกล่าว
             นายวินนท์  วิระนะ  หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน  กล่าวว่า   เสือตัวนี้ชื่อมะลิวัณย์  อายุ  24  ปี  ปกติเป็นเสือที่ดุ  ไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้อยู่แล้ว  จึงมีแผนที่จะย้ายจากกรงเล็กให้ไปอยู่กรงใหญ่เพื่อไม่ให้เสือเกิดอาการเครียด   ซึ่งวันนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่นําอาหารไปให้เป็นมื้อสุดท้าย  และทําความสะอาดกรง  ก่อนที่จะปล่อยเสือไปอยู่ในกรงใหญ่  แต่ช่วงจังหวะปล่อยเสือเกิดความเครียดจึงได้กระโดดทําร้ายเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้ระวังตัว  เพราะนายสมชายเป็นคนที่ให้อาหารและเลี้ยงดูเสือตัวนี้มาตลอดโดยที่ไม่คิดว่าเสือจะทําร้าย    ส่วนเสือมะลิวัญย์ก็ไปอาศัยอยู่ในกรงใหญ่แล้ว
         นายวินนท์  วิระนะ กล่าวอีกว่า  เสือมะลิวัณย์เป็นเสือของกลางที่จะต้องเลี้ยงไปจนกว่าจะตายเพราะไม่สามารจะปล่อยอกสู่ธรรมชาติได้เพราะเขาเชื่องกับคนจะกลับมาหาคนจึงเป็นภาระ    และ เรามีสัตว์ที่เป็นของกลางจำนวนมากเช่นตะกวด กว่า 1000  ตัว ตัวเหื้ยมากถึง  600-700  ตัว  จึงต้องเลี้ยงดูให้เขาอยู่ได้มีสุขภาพที่ดีงบประมาณที่มีไม่เพียงพอที่ทำให้สขภาพเขาดีได้จึงอยากให้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการพ่อแม่อุปถัมป์สัตว์ป่า  จึงขอเรียนเชิญมาบริจาคเพื่อเป็นการทำบุญกับสัตว์ก็จะได้กุศลอีกอย่างหนึ่ง
สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อสอบถามได้ที่  081-7054026

ผู้ปกครองนักเรียนกว่า 40 คน

ผู้ปกครองนักเรียนกว่า 40  คน  บุกโรงเรียนบรมราชชนนี
เมื่อเวลา 09.30  น.วันที่ 5  กันยายน 2554  ที่  โรงเรียนบรมราชชนนี  ต.ทุ่งหลวง  อ.เมือง  จ.ราชบุรี   มีผู้ปกครองนักเรียนกว่า 40 คน  รวมตัวกันที่หน้าอาคารอำนวยการ   ขับไล่   นายเฉลิมพล  ตาละลักษณ์  อาจารย์ผู้ดูแลหอพัก  กล่าวหาว่าอาจารย์เฉลิมพล ตั้งแก๊งค์มาเฟีย  โดยมีนักเรียน ม 5  ประมาณ  8 คน  รวมกลุ่มรังแกรุ่นน้อง ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล  เรื่องนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วตั้งแต่ต้นปี  นักเรียนที่ถูกตนกลุ่มนี้รังแกมี กว่า 30 คน ร้องเรียนไปยัง นางอุไร  เอี่ยมสอาด  ผู้อำนวยการ  ก็ไม่ได้รับการแก้ไข  ถูกปฎิเสธบ่ายเบี่ยงมาตลอดเวลา  ดูเหมือนว่าคณะครูผู้บริหารจะเกลงกลัวอิทธิพลกลุ่มนี้  บรรดาผู้ปกครองของนักเรียนที่ถูกรังแกจึงเดินทางมาพบนางอุไร  เอี่ยมสอาด  ผู้อำนวยการ  เพื่อไล่นายเฉลิมพล  พร้อมกลุ่มนักเรียนทั้ง 8 คน   โดยเฉพาะ  นายโต   นายแทน นายสอง นายนคร และพวก ออกไปจากโรงเรียน
       ต่อมานางอุไร  เอี่ยมสอาด  ผู้อำนวยการโรงเรียนบรมราชชนนี  ได้เซิญผู้ที่เกี่ยวข้อง
เข้าไปพูดคุยกันที่ห้องประชุม  การพูดคุยกันเต็มไปต้วยความวุ่นวายทุกคนต้องการให้อาจารย์เลิมพล กับกลุ่มนักเรียนดังกล่าวออกไปจากโรงเรียนสถานเดียว   นางอุไร  เอี่ยมสอาด  ผู้อำนวยการโรงเรียนบรมราชชนนี  พร้อมคณะครูผู้บริหารได้รับปากว่าจะดำเนินการให้   จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย   ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง  ก่อนแยกย้ายกันกลับไป

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรรพาสามิตรโฉมใหม่

ราชบุรี Smart Office สรรพาสามิตรโฉมใหม่กับนโยบายเพื่อสังคม
               เวลา 11.00 น.  วันที่ 31 สิงหาคม 2554   ที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ราชบุรี  สาขาเมืองราชบุรี   นายพงษ์ภาณุ   เศวตรุนทร์   อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็นประธานในพิธีเปิด Smart Office สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ราชบุรี  สาขาเมืองราชบุรี   พร้อมด้วย นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และ พล.ต.ต.เพชรัตน์  แสงไชย  ผบก.ภ.จว.ราชบุรี  โดยมี นายอัครุตม์ สนธยานนท์ สรรพสามิตพื้นที่ราชบุรี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ Smart Office นั้น   เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นสำนักงานที่ทันสมัย ประหยัดพลังงาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนที่มาติดต่อราชการ ด้วยการให้บริการที่เป็นกันเอง สะดวก รวดเร็วและประทับใจ รวมถึงสร้างความผาสุกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยได้ดำเนินการจัดสร้าง Smart Office ซึ่งเป็นสำนักงานที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย พร้อมให้บริการที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ราชบุรี สาขาเมืองราชบุรี ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 86 พื้นที่ที่จะเปิดให้บริการ จากกรมสรรพสามิต ดำเนินการปรับปรุง พื้นที่ของสำนักงานให้มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามยุธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต ที่ต้องการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์  อธิบดีกรมสรรพสามิต  กล่าวว่า นโยบายของกรมสรรพสามิตในปัจจุบัน นอกจากจะเน้นการให้บริการแก่ผู้เสียภาษี การบริหารจัดเก็บภาษีและดูแลคุ้มครองผู้เสียภาษีแล้ว ยังมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยให้นำบุหรี่และใบยาสูบของกลางที่เสร็จคดีแล้วมอบให้กับหน่วยงานต่างๆนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทางการเกษตร หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานอื่นๆที่มีความพร้อม เพื่อนำไปเป็นส่วนผสมกับวัตถุดิบพื้นบ้าน สำหรับผลิตเป็นยาไล่ศัตรูพืช หรือปุ๋ย ตามโครงการสรรพสามิตเพื่อสังคม
                ซึ่งทางสรรพสามิตพื้นที่ราชบุรี ได้ร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกรจากศูนย์การเรียนรู้บ้านทุ่งกระถิน อำเภอจอมบึง คิดสูตรการทำน้ำยาไล่แมลง หมากฝรั่งหมูหลุมและปุ๋ย จากของกลางดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนตามนโยบายสรรพสามิตสีเขียว ที่นำยาสูบและน้ำสุราของกลางไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนการเผาทำลายยาสูบแบบเดิม และการเทน้ำสุราทิ้งซึ่งเป็นการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยในครั้งนี้ ได้มอบเงินสนับสนุนสังคมและชุมชน โดยมอบเงินสมทบให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดราชบุรี มอบเงินสนับสนุนการศึกษาพร้อมอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนในพื้นที่ จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 โรงเรียน และมอบยาสูบ จำนวน 1,100 ซอง และน้ำสุรา จำนวน 150 ลิตร ซึ่งเป็นของกลางที่เสร็จคดีแล้ว ให้กับตัวแทนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งกระถิน  อำเภอจอมบึง  เพื่อนำไปผลิตเป็นยาน้ำไล่ศัตรูพืชและปุ๋ยต่อไป
 

กกต.อบจ ราชบุรีออกตรวจหน่วย

        กกต.อบจ ราชบุรีออกตรวจหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.โพธาราม (แทนตำแหน่งที่ว่าง)เพื่อดูความเรียบร้อยมีประชาชนออกมาใช้สิทธิบางตาประกอบกับมีฝนตกหนักในช่วงบ่าย
                เมื่อวันที่ 28  สิงหาคม 2554 นายครรลอง  ยุทธชัย  ปลัดจังหวัดราชบุรีประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีพร้อมด้วย  นายสุพรชัย  จิตตุรงค์อาภรณ์  ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี  ได้ออกตระเวรตรวจหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ในเขตเลือกตั้งที่ 3      อ.โพธาราม เพื่อดูความเรียบร้อยพบว่ามีประชาชนออกมาใช้สิทธิบางตาประกอบกับมีฝนตกในช่วงบ่าย  สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้สืบเนื่องจากที่นายชัยทิพย์  กมลพันธ์ทิพย์  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี     เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอโพธาราม  ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่   4 กรกฎาคม 2554 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และข้อ 7 ของระเบียบคณะกรรมการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2554 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2554 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดราชบุรี  ได้ประกาศให้มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี  เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอโพธาราม (แทนตำแหน่งที่ว่าง) โดยกำหนดรับสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 19- 23 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี และกำหนดเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2554 ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี         เขตเลือกตั้งที่  3 อำเภอโพธาราม  จำนวน 2  คน ได้แก่
                                1. นางสาวศิริพร   เนียมรักษา          ผู้สมัครหมายเลข 1
                                2. นายสนธยา                        กลัดเกตุ              ผู้สมัครหมายเลข 2
                จากการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 2 ราย ปรากฏว่านายสนธยา กลัดเกตุ ผู้สมัครหมายเลข 2 เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตาม มาตรา45(10)แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่3) พ.ศ.2554 เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2554 จึงประกาศไม่รับสมัครรับเลือกตั้งฯ ทำให้เหลือผู้สมัครเพียงรายเดียวคือ นางสาวศิริพร  เนียมรักษา  ผู้สมัครหมายเลข 1
                สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีเขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอโพธาราม             (แทนตำแหน่งที่ว่าง) ครั้งนี้  คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้แบ่งหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอโพธารามออกเป็น 34 หน่วยเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,886 คน ประกอบด้วยพื้นที่ เทศบาลเมืองโพธาราม  เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เทศบาลตำบลดอนทราย และองค์การการบริหารส่วนตำบลคลองข่อย  โดยมีประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอโพธารามออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี (แทนตำแหน่งที่ว่าง) ครั้งนี้แบบบางตาประกอบกับในช่วงบ่าย       มีฝนตกหนัก
                สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอ        โพธาราม (แทนตำแหน่งที่ว่าง) อย่างไม่เป็นทางการ ผลปรากฏว่า นางสาวศิริพร  เนียมรักษา  ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้ 5,452 คะแนน  คิดเป็น 33.75 % จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20,886  จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 7,048 คน  บัตรดี 5,452 ใบ บัตรเสีย 1,058 ใบ ไม่ประสงค์ลงคะแนน 538 ใบ

เทศบาลเมืองราชบุรี ทุ่ม งบ

เทศบาลเมืองราชบุรี ทุ่ม งบกว่า 10,000,000 ปรับปรุงสัญญาณจราจร
                นายทวีป เหนือมณีมงคล ประธานสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ค่อนข้างเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากจังหวัดราชบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากกรุงเทพมหานครฯ เพราะมีระยะห่างจากราชบุรี ประมาณ 100 กิโลเมตร ประกอบกับในเขตเทศบาลเมืองเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า และมีสถานศึกษาสำคัญหลายแห่ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงใช้เส้นทางการจราจรภายในเขตเทศบาลเมืองเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนนถนน ส่วนใหญ่เกิดจากกรณีที่สัญญาณไฟจราจรใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเพื่อเป็นการลดจำนวนอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดราชบุรี ทางสถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี  จึงประสานมายังทางเทศบาลเมืองราชบุรี ให้ดำเนินการปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรเป็นนาฬิกานับถอยหลังในเขตเทศบาลเมือง จำนวน 11 ทางแยก ซึ่งเป็นทางแยกที่มีการจราจรคับคั่ง ได้แก่ สี่แยกตลาดศรีเมือง (ทางเข้าสถานีขนส่ง) , สี่แยกต้นสำโรง , สี่แยกบึงถาวร , สี่แยกโรงเรียนอนุบาล , สี่แยกตระการ , สี่แยก โรงเรียนดรุณา , สี่แยกโรงเรียนนารีวิทยา , ห้าแยกสะพานแดง , สี่แยกตลาดศรีเมือง(ทางเข้าตลาดศรีเมือง) , สี่แยกอุโมงค์รถไฟ และสี่แยกท้าวอู่ทอง   รวมถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 53 จุด  ซึ่งเทศบาลจะได้ติดตั้งไฟกระพริบเตือน เพื่อเป็นจุดสังเกตให้เกิดความปลอดภัยของประชาชน โดยทางเทศบาลเมืองราชบุรี ได้ขออนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมเทศบาล จำนวน 2 โครงการ ซึ่งแบ่งเป็นโครงการปรับปรุงสัญญาณไฟจราจร จำนวน 11 ทางแยก เป็นเงิน 8,000,000 บาท และโครงการติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบเตือน จำนวน 53 จุด เป็นเงิน 2,000,000 บาท รวมจำนวนทั้งสิ้น 10,000,000 บาท โดยขณะนี้ทางเทศบาลได้อนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว  ซึ่งจะประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชาวบ้านปิดถนนประท้วงไม่ยอมให้สร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน



ชาวบ้านปิดถนนประท้วงไม่ยอมให้สร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน
               เมื่อเวลา 10.00 น.  วันที่ 1 มิถุนายน 2554  ชาวบ้านในหมู่ 7  หมู่ 11 และหมู่ 12  ต.จอมบึง  อ.จอมบึง  จ.ราชบุรี จำนวนกว่า 100 คน ได้นำเต้นท์มาตั้งกางพร้อมนำรถบรรทุก สิบล้อ มาปิดถนนสายจอมบึง - บ้านพุแค  หมู่ 12 ต.จอมบึง หน้าทางเข้าสถานที่ก่อสร้างฟาร์มไก่  เพื่อเรียกร้องขอพบนายสุเทพ  โกมลภมร  ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  หลังชาวบ้านได้เคยยื่นหนังสือร้องเรียนและไม่ยินยอมให้มีการก่อสร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน ที่บริเวณหมู่ 11  บ้านหนองกระทุ่ม  ต.จอมบึง   ไปแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมา เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ผลการประชาคมหมู่บ้านยังเป็นการไปขอให้ชาวบ้านเซ็นต์ชื่อตามบ้านและบางคนที่ไม่รู้เรื่องก็มีรายชื่อยินยอมไปด้วย   
โดยนายพงษ์พันธ์  แสงสุวรรณ  นายอำเภอจอมบึง ได้เดินทางมารับเรื่องดังกล่าวไว้และนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ผ่านมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ก็ได้มีคำสั่งให้ชะลอการก่อสร้างฟาร์มไก่ของนายพชร  สินชัยวนิชกุล ไว้แล้วถึงสองครั้ง  แต่จนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว ทางฟาร์มไก่ก็ยังคงมีการก่อสร้างเพิ่มเติมตลอด โดยไม่ได้สนใจในคำสั่งให้ชะลอการก่อสร้าง และจากการตรวจสอบผลการประชาคมหมู่บ้าน ทางอำเภอจอมบึงพบว่ามีมูลเหตุให้น่าเชื่อว่า การประชาคมในครั้งนี้มีความไม่ถูกต้องและมีการแอบอ้างชาวบ้านบางคนโดยที่ไม่รู้เรื่อง  จึงทำให้ชาวบ้านต้องออกมาทำการปิดถนนดังกล่าว เพื่อเรียกร้องขอพบผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
        ซึ่งในเวลาต่อมานายณรงค์  คลองชนม์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  นายพงษ์พันธ์  แสงสุวรรณ  นายอำเภอจอมบึง  นางวิมลรัตน์  สุภาคม  ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี  และเจ้าหน้าที่ อตร.(องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ) ได้เดินทางไปพบกับชาวบ้านที่ปิดถนน พร้อมกับเชิญตัวแทนชาวบ้านมาพุดคุย ก่อนจะรับหนังสือร้องทุกข์จากตัวแทนชาวบ้าน
 โดยนายณรงค์ คลองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้รับปากกับชาวบ้านว่าจะดำเนินการเรื่องการตรวจสอบหนังสือประชาคมหมู่บ้านที่มีการนำมาใช้ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร โดยจะทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและจะหาข้อสรุปให้กับชาวบ้านโดยเร็ว   และอีกเรื่องคือจะให้ทางเจ้าหน้าที่ของอำเภอประสานกับทางอบต.จอมบึง ให้ตรวจสอบหากฟาร์มดังกล่าวมีการยื่นขออนุญาติใบประกอบกิจการการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ( กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ) ให้ตรวจสอบดูว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบหรือไม่หลังจากที่เจ้าของฟาร์มมายื่นขออนุญาติอีกครั้งหนึ่ง  แต่ในส่วนการระงับการก่อสร้างนั้นทางส่วนราชการเองยังไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปให้ผู้ประกอบการก่อสร้างหยุดการก่อสร้างไว้ได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ใน พรบ.ควบคุมอาคาร แต่ในเบื้องต้นก็คงต้องเห็นความสำคัญและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมพอใจก่อนยุติการชุมนุม


ชาวคูบัวประท้วงการสำรวจปักหมุด

  ชาวคูบัวประท้วงการสำรวจปักหมุดที่ราชพัสดุเป็นเมืองโบราณ


                จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์จังหวัดราชบุรี ได้เข้าไปทำการรังวัดที่ดิน พร้อมปักมุดทองเหลืองไว้หลายจุด ตั้งแต่หมู่ 2-6 .คูบัว กินพื้นที่กว่าพันไร่ ซึ่งมีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่กว่า 500 หลังคาเรือน สร้างความสงสัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ถึงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่ากรมธนารักษ์จะยึดพื้นที่คืนและเกรงว่าจะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์  ทั้งที่บริเวณดังกล่าว ชาวบ้านมีโฉนดที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย มีการถือครองมาตั้งแต่ พ..2459 ..2460  ..2504  จนถึงปัจจุบัน
                โดย เมื่อเวลา 9.00 . วันที่ 31 พ.ค. 54  นายณรงค์  พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้เดินทางมาเป็นประธาน พร้อมทั้งนายสมบูรณ์  สิริเวช  นายอำเภอเมืองราชบุรี เจ้าหน้าที่จากกรมธนารักษ์ และเจ้าหน้าที่จากศิลปากร ได้ร่วมกันชี้แจ้งถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ศาลาการเปรียญ วัดคูบัว ต.คูบัว อ.เมือง มีชาวตำบลคูบัวจากหมู่ 2-6 กว่า 800 คน เข้าร่วมฟังการชี้แจงในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ ได้กล่าวว่า  การที่มาทำการรังวัดที่ดินเป็น โครงการสำรวจที่ดินกำแพงเมือง คูบัว วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง-คูเมือง  และจัดสร้างแผนที่ในการป้องกันระงับยับยั้งการบุกรุกทำลายกำแพงเมือง-คูเมือง  ต่อไป ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ฟังดังนี้ หลายคนต่างก็วิพากย์วิจารย์  ว่า ชาวคูบัวได้อาศัยพื้นที่ตรงนี้กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนมีโฉนด ที่ดิน ซึ่งก็ได้ตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวคูบัวจึงมีความรักและความผูกพันธ์ การที่มาทำแบบนี้เหมือนมาดูถูกชาวคูบัวและทำลายวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 200 ปี 
                เมื่อพิจารณาแผนที่รังวัดปักหมุดคูเมืองของเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ พบว่า บริเวณพื้นที่ของคูเมือง  มีความกว้างกว่า 200 เมตร และแนวคลองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวกว่า 3 กิโลเมตร มีความกว้าง กว่า 800 เมตร ซึ่งรวมพื้นที่เมืองโบราณแล้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด กว่า  1.92 ตารางกิโลเมตร
                โดยบรรยากาศในที่ประชุมเริ่มตึงเครียด มีตัวแทนจากหลายหมู่บ้านของตำบลคูบัว ได้ออกมายืนยัน อย่างชัดเจน ว่าจะขอให้กรมธนารักษ์ระงับโครงการดังกล่าวและจะขอปกป้องที่ดินบริเวณนี้ไว้ไม่ให้ใครมาทำลายได้อย่างเด็ดขาด  อย่างไรก็ตามนายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี   ได้รับฟังปัญหากับทางเจ้าหน้าที่ธนารักษ์  และข้อมูลชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้ว  ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น  โดยทางจังหวัดจะทําหนังสือบันทึกถึงกรมธนารักษ์  เนื่องจากชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้  ให้ยกเลิก หรือ ระงับโครงการกําหนดการรังวัดปักหมุดแนวเขตกําแพงคูเมืองโบราณบ้านคูบัวทั้งหมดไว้ก่อน   เพื่อเสนอปัญหาของชาวบ้านไปยังอธิบดีกรมธนารักษ์เพื่อพิจารณาต่อไป  ซึ่งชาวบ้านก็ตกลง  และหากวันจันทร์หน้าไม่มีคําตอบที่ชัดเจนว่าจะยกเลิกหรือไม่  ชาวบ้านก็จะเดินทางไปประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดราชบุรีอีกครั้ง

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชาวสวนร้องมะนาวต่างประเทศทะลัก

เข้ามาทำให้ราคามะนาวไทยตกต่ำ
                เกษตรกรที่ปลูกมะนาวในอ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี  กว่า 200 คนเดินทางมาที่หอประชุมโรงเรียนวัดประสาทสิทธิ์ ต.ประสาทสิทธิ์  อ.ดำเนินสะดวก  เพื่อมาร้องเรียนกับนายบุญดำรง  ประเสริฐโสภา  สมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี เขตอำเภอดำเนินสะดวก ผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์  ให้ช่วยแก้ปัญหามะนาวต่างชาติทะลักเข้ามาขายในประเทศไทย ทำให้ราคาของมะนาวในประเทศไทยนั้นตกต่ำ เนื่องจากมะนาวที่มาจากต่างประเทศนั้นมีราคาถูก
       โดยนายกิติวัฒน์  รังสีวิสิทธิ์  อายุ 61 ปี ชาวสวนมะนาวในอ.ดำเนินสะดวก ก็กล่าวว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ของทุกปีจะเป็นช่วงที่ชาวสวนมะนาวนั้นลืมตาอ้าปากได้บ้างเพราะช่วงนี้จะแล้งทำให้มะนาวมีราคาแพง แต่เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นได้มีพ่อค้าหัวใสแอบไปลักลอบนำมะนาวจากต่างประเทศ(เขมร)เข้ามาขายในราคาถูก ทั้งที่คุณภาพนั้นสู้มะนาวของไทยไม่ได้เลย โดยเฉพาะเรื่องของน้ำมะนาวก็มีน้อย  และไม่มีกลิ่นหอม   ทำให้มะนาวของเกษตรกรไทยนั้นขายไม่ได้ และต้องถูกกดราคาลงมา จากเดิมที่เคยขายในช่วงนี้มะนาวใบใหญ่สุดจะอยู่ที่ราคา 3 บาทขึ้นไป ก็เหลือแค่ 2 บาท ทั้งที่ต้นทุนของมะนาวนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี   แต่ราคามะนาวนั้นกลับลดลงทำให้เกษตรกรที่ปลูกมะนาวได้รับความเดือดร้อนมาก จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบหาผู้ที่แอบลักลอบนำมะนาวต่างประเทศมาขาย   และขอให้มีการประกันราคาของมะนาวด้วย เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรที่ปลูกมะนาวนั้นอยู่ได้  นอกจากนี้ในวันที่ 5 มี.ค.54 ชาวสวนมะนาวก็จะส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับรมว.กระทรวงเกษตรฯ  
        ด้านนายบุญดำรง  ประเสริฐโสภา  สจ.ราชบุรี ก็กล่าวว่า หลังได้รับเรื่องร้องเรียนแล้วก็จะดำเนินการส่งเรื่องไปยัง รมว.พานิชย์ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของมะนาวที่มีการนำเข้าพร้อมกับจะให้ช่วยดูในเรื่องของการประกันราคามะนาวเป็นการเร่งด่วนด้วย