บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี โอ อนุชิต ดารานักแสดงชื่อดังเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ

โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ดาราแสดงชื่อดัง เดินทางมาเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ที่ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลโพธาราม ชื่นชมมีบริการที่ทันสมัยรู้สึกประทับใจ
ที่โรงพยาบาลโพธาราม อำเภอโพธาราม จ.ราชบุรี โอ อนุชิตสพันธุ์พงษ์ ดารานักแสดง นักร้อง และนักเต้น ชื่อดังได้เดินทาง มาเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ที่ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลโพธาราม ตามคำแนะนำจากอาจารย์คมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณะบดีวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับการมาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลโพธารามในครั้งนี้ “โอ อนุชิต” ได้เข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเฉพาะทางโรคหัวใจ “นพ. วัชระ ก้อนแก้ว” ตั้งแต่การเดินสายพาน (Est) ต่อด้วยอัลตราซาวด์หัวใจ (Echo) และปิดท้ายด้วยตรวจ CT Scan โดยผลการตรวจจากแพทย์ ปรากฏว่าสมรรถภาพหัวใจแข็งแรง
โดย “โอ อนุชิต” ได้กล่าวว่า “รู้สึกทึ่งกับโรงพยาบาลแห่งนี้ ที่มีเครื่องมือในการตรวจเหมือนโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ รู้สึกประทับใจเพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตในการทดสอบวิ่งสายพาน แล้วยิ่งรู้ว่าเป็นโรงพยาบาลระดับอำเภอ มีบริการที่ทันสมัยและยิ่งรู้สึกประทับใจแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใส่ใจและให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี โอ อนุชิต สหพันธุ์พงษ์ เคยมีประวัติป่วยเกี่ยวกับปลายปราสาท แต่ปัจจุบันได้หายเป็นปกติแล้ว และในวันนี้ได้มาตรวจสุขภาพหัวใจที่โรงพยาลโพธาราม ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลระดับอำเภอ ขอฝากเชิญชวนพี่น้องประชาชนให้มาตรวจสุขภาพกันเยอะๆ เพราะไม่ควรรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วถึงมาเข้ารับการตรวจ ในชีวิตประจำวันเราก็สามารถตรวจได้ เพื่อสำรวจว่าร่างกายเราแข็งแรงปกติ โอ อนุชิต กล่าวปิดท้าย
“ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลโพธาราม” เป็นคลินิกโรคเฉพาะทาง ที่เปิดให้บริการ ทุกวันอังคาร เวลา 08.00 น. – 16.00 น. และวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 น. – 12.00 น. มีแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ 2 ท่าน ได้แก่ นพ. วัชระ ก้อนแก้ว และ นพ.ฉันท์ทัต เอี่ยมขำ คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ (SMC) ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 น. – 20.00 น. โดยมีบริการตรวจเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ ตรวจโรคหัวใจทั่วไป ค่าบริการ 300 บาท บริการตรวจวัดคลื่นหัวใจเดินสายพาน (Est) และบริการอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echo) ค่าบริการ 500 บาท

ราชบุรี จัดประชุมจัดเตรียมการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

กกต.จ.ราชบุรี จัดประชุมเตรียมการ เลือกตั้งวุฒิสภา ประสานงานนายอำเภอหัวหน้างานส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบกำหนดการเลือกตั้ง วันรับสมัครและคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดราชบุรี นายไกรธวัช ทินโฉม ปลัดจังหวัดราชบุรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการเลือกวุฒิสภาประจำจังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 1 โดยมีนายณัฎฐกร คงเดชา ผอ.สนง.คณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.ราชบุรี นายสมชาย โถววิริยะกุล รอง ผอ.สนง. คณะกรรมการเลือกตั้ง จ.ราชบุรี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ ร่วมกัน จัดประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เพื่อเป็นการชี้แจงให้ ทางนายอำเภอ 10 อำเภอ และหัวหน้างานส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดราชบุรี ผู้ที่จะไปดำเนินการจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยความ สุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบกำหนดการเลือกตั้ง วันรับสมัครและคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ได้อย่างถูกต้อง
นายณัฎฐกร คงเดชา กล่าวว่า ทางสำนักงาน กกต.ราชบุรี ได้เชิญนายอำเภอทุกอำเภอทั้ง 10 อำเภอ ในจังหวัดราชบุรี และปลัดจังหวัดราชบุรี มาประชุมเตรียมความพร้อมในการเลือก สว.ซึ่งเรียกมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คน การแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในระดับอำเภอ เรื่องสถานที่การรับสมัคร สถานที่การรับเลือก เราจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เรื่องการทำงานเลือกวุฒิสภากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งจะครบวาระในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ จึงต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ ทั้งเรื่องคนและเรื่องสถานที่ จะได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับนายอำเภอ ในฐานะประธานเลือกในระดับอำเภอ รวมถึงท่านปลัด อาวุโส ผอ.การเลือกทุกอำเภอ ด้วยเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ให้ทราบถึงขั้นตอน วิธีการ ระเบียบกฎหมายต่างๆในการเลือก จะทำให้การเลือก สว.ราชบุรี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงต้องเตรียมความพร้อมเอาใว้ก่อน สำหรับปัญหาอุปสรรคยังไม่มี เราได้มีการติดตามติดต่อประสานงานกับนายอำเภอใว้ตลอดเวลาทั้งตั้งกลุ่มไลน์ประสานงานทุกอย่าง และไปพบเพื่อดูสถานที่ อาจมีเรื่องที่ไม่เข้าใจ ในครั้งนี้มีความตื่นตัวโดยทาง กกต.ราชบุรี ขอความร่วมมือทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ และประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรีร่วมประชาสัมพันธ์เลือก สว.ก็ทำให้มีการตื่นตัวและทาง กกต.จะมีการจัดให้ความรู้ผู้ที่สนใจสมัครมาสมัครรับเลือก สว.โดยจะจัดให้ความรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ใดสนใจทางช่องทางออนไลน์ Face book สำนักงาน กกต.จว.ราชบุรี ให้แสกนคิวอาร์โค้ด ลงชื่อเอาใว้ เข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา2567 ประชาชนและผู้ที่สนใจสมัครเข้ารับเลือกเป็น สว.ตอบแบบสำรวจความสนใจเข้าร่วม ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น.ถึงเวลา 12.00 ที่โรงเรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี งานวันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ

งานวันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จัก
นายนคร ศิวิลัย นายอำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า อำเภอปากท่อ ถือเป็นแหล่งปลูกมะม่วงมากที่สุดในจังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งรวมมะม่วงที่มีคุณภาพของประเทศไทย เนื่องจากมีรสชาติดี และคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยจากสารเคมี มีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 9500 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ รองลงมา คือ พันธุ์แก้วลืมรัง หนังกลางวัน ทองดำ เขียวเสวยและฟ้าลั่น โดยส่งจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ และมาเลเซี่ย ไม่น้อยกว่า 700 ตันต่อปี โดยในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี ผลผลิตมะม่วงจะออกตามฤดูกาลเป็นจำนวนมากและมีรสชาติอร่อยมาก เป็นที่นิยมของคนทั่วไป และยังมีของดีอีกมากมาย เช่น ด้านปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์ จึงได้จัดงาน วันมะม่วงและของดีอำเภอปากท่อ ครั้งที่ 25 ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักโดยท
สำหรับนในครั้งนี้จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 ถึง 28 เมษายน บริเรอบที่อำเภอปากท่อ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์"หนึตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" การออกร้านแสดงสินค้า และกมต่าง ๆ มากมาย ภายในงานจะได้พบกับ ลานตลาดชุมชน ได้ขึ้นเขาน้อย เพื่อนมัสการท้าวมหาพรหม นิทรรศการวิถีชีวิต พี่น้อง 7 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยทรงดำ ไทยกะเหรี่ยง ไท-ยวน ไทยจีน ไทยลาวเวียง ไทยเขมรลาวเดิม ไทยพื้นถิ่น อาหารพื้นบ้าน เลือกซื้อมะม่วงผลและผลิตภัณฑ์มะม่วง สินค้า OTOP ของพี่น้องชาวปากท่อ และ กิจกรรมในแต่ละวัน เช่น การประกวด Dancer กลุ่มสตรีอาสา การประกวดมะม่วงสายพันธุ์ต่าง ๆการประกวดธิดามะม่วงอำเภอปากท่อ การแสดงวัฒนธรรม 7 ชาติพันธ์ การแข่งขันศึกวันดวลเพลงการประกวดส้มตำผลไม้ลีลา การประกวดอาหารหมู ๆ และสุดยอดอาหารอร่อย ไม้ผลคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน สับปะรด ลำไยและ การประกวดชันโรง นอกจากนี้ในแต่ละคืนท่านจะได้พบกับศิลปินดังทั่วฟ้าเมืองไทยอีกมากมาย

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี สงกรานต์ กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัว

อบต.คูบัว จัดโครงการจัดงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธุ์ตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัวหล่อหลอมจิตใจของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวํโส เจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี ประธานฝ่ายสงฆ์ นายประยง พิมเพราะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ประธานฝ่ายจัดงานโครงการจัดงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 โดยมีนางสาวกุลวลี นพอมรบดี สส.ราชบุรี นางจรรยา พิมเพราะ รองนายก อบต.คูบัว กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา อบต., กลุ่มแม่บ้าน, กลุ่ม อสม. ตำบลคูบัว เข้าร่วมงาน โดยนายธนพงษ์ ปัญญากาญจน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว กล่าวถึงการจัดงาน เนื่องจากจังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านเชื้อชาติพันธุ์ ซึ่งการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติพันธุ์ก็มีความเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามวัฒนธรรมของตน กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนบ้านคูบัว เป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพเคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสนมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดราชบุรีประมาณ 200 ปีเศษมาแล้ว ดังนั้นประเพณีวัฒนธรรมของชาวไท-ยวนจึงมีลักษณะเหมือนกับประเพณีวัฒนธรรมของชาว ล้านนา
ทางด้าน นางจรรยา พิมเพราะ กล่าวว่า เสน่ห์ประเพณีวัฒนธรรมไท-ยวน จึงมีนักท่องเที่ยวต่างพื้นที่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ตำบลคูบัวเป็นประจำ โดยมองเห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของวิถีชาวบ้าน ทั้งในเรื่องการทอผ้าตีนจก เยี่ยมชมวัดอารามต่างๆ ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวไท-ยวน ผ่านทางพิพิธภัณฑ์ และโบราณสถนสมัยทวาราวดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงประเพณีสงกรานต์ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของชาวไท-ยวนบ้านคูบัว อันสืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของแต่ละปี เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์"
องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว จึงได้จัดกิจกรรมขึ้น ภายใต้ "โครงการจัดงานสืบ สานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2567" โดยมีขบวนแห่วัฒนธรรมไท-ยวน, กิจกรรมสรงน้ำพระ, รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, ก่อพระเจดีย์ทราย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ทำบุญตักบาตร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตำบลคูบัวด้านประเพณีวันสงกรานต์ในท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สร้างสายสัมพันธ์ของชุมชน ให้ข้าราชการ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนพ่อค้าประชาชน มีความเข้มแข็ง หล่อหลอมจิตใจของคนในชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเกิดความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบสานอนุรักษ์ฟื้นฟู วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีวันสงกรานต์ ในท้องถิ่นตำบลคูบัวให้คงอยู่สืบไป

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

ราชบุรี งานมหาสงกรานต์ถนนข้าวใข่เจียวเปิดอุโมงค์น้ำปาตี้โฟม

เริ่มแล้ว งานมหาสงกรานต์ถนนข้าวใข่เจียวเปิดอุโมงค์น้ำปาตี้โฟมประชาชนนับหมื่นแห่เข้าร่วมจราจรขาแดนซ์ใส่หน้ากากโชว์สเต็ปการเต้นโบกรถ
ที่เวทีชั่วคราว บริเวณริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา เทศบาลเมืองราชบุรี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ประธานในพิธีเปิดงานมหาสงกรานต์ (ถนนข้าวไข่เจียว) ประจำปี 2567พร้อมทั้งเปิดอุโมงค์น้ำ และปาตี้โฟม โดยมี พล.ต.ต.วชิพงษ์ อมราพิทักษ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ราชบุรี นางกาญจน์กุระ ฮัยสคาเนน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี และหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนกว่า 10000 คน เดินทางมาร่วมงาน โดยนายศักดิ์ชัย พิศาลผล /นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมสงกรานต์ ถนนข้าวใข่เจียว ประจำปี 2567 เทศบาลเมืองราชบุรีได้รับมอบหมาย จากจังหวัดราชบุรี ให้จัดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดราชบุรี กระตุ้นให้เกิดการเดินทาง การใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อันเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนให้กับคนในท้องถิ่น และส่งมอบความสุข ให้แก่ประชาชน ในวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นการมอบความสุขให้กับชาวราชบุรี โดยมีประชาชนและ นักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์ที่สะอาด ปลอดภัย
โดยทางเทศบาลเมืองราชบุรี ได้มีการนำน้ำประปาใส่ท่อ PVC แล้วฉีด ขึ้นบนถนนให้เป็นอุโมงค์น้ำความยาวประมาณหนึ่งกิโลเมตร เพื่อคลายร้อน ซึ่งเป็น ถนนเส้นกิจกรรมที่รองรับการจัดคอนเสิร์ต ในงาน "มหกรรมสงกรานต์เมืองราชบุรี(ถนนข้าวไข่เจียว) ประจำปี 2567 " มีนักร้อง ศิลปินในช่วงค่ำ ที่มาสร้างความสุข ให้กับพี่น้องประชาขนต่อเนื่อง จัดตั้งแต่วันที่ 13-17 เมษายน 2567 ภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้สนุกสนานไปกับ เป็นถนนสายแลนด์มาร์คในวันสงกรานต์ พบกับถนนข้าวไข่เจียวตลอดสาย อุโมงค์น้ำให้นักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำถึงสองทุ่มทุกวัน ก่อนพิธีเปิดจะพบกับขบวนแห่สงกรานต์นำองค์หลวงพ่อแก่นจันทน์และพระพุทธสิหิงค์ไปตามถนนสายต่างๆรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการะขอพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ไทย โดยมีนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี นำทีมงานคณะผู้บริหารนำขบวนแห่และถือปืนฉีดน้ำกับประชาชนชมขบวนสองข้างทางและพบกับจราจรขาแดนซ์ใส่หน้ากากโบกรถโชว์ลีลาการเต้นสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาร่วมขบวนแห่อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี งานประเพณีศาลเจ้าถนนสายวัฒนธรรมนแคะห้วยกระบอก

เมืองโอ่ง แถลงข่าว "งานประเพณีประจำปีศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เจ้าพ่อสามภูเขา)และถนนสายวัฒนธรรมจีนแคะห้วยกระบอกส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
ที่บริเวณศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เข้าพ่อสามภูเขา) ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธานการแถลงข่าว "งานประเพณีประจำปีศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เจ้าพ่อสามภูเขา)และถนนสายวัฒนธรรมจี นแคะห้วยกระบอก ประจำปี 2567ผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วยนางนภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ผศ. ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง นางสาวจุไรรัตน์ ชัยทวี ทรัพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี นายชูเกียรติ วงษ์พิทักษ์โรจน์ นายกเทศมนตรีตำบลห้วยกระบอก นายพลสิทธิ์ ประดิษฐ์วงวาล รองประธานมูลนิธิประโยชน์มวลชนห้วยกระบอก และนายวีรยุทธ ศิริทองเกษตร ประธานชมรมจีนแคะห้วยกระบอก จังหวัดราชบุรี พร้อมกันนี้มีนางพรศรี ตรงศิริ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ร่วมฟังแถลงข่าวด้วย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และภาคส่วนต่างๆได้ร่วมกันจัดงานประเพณีดังกล่าวขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมของจังหวัด ถือได้ว่ามีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น และมีการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีกันมาอย่างยาวนาน มีตลาดและชุมชน ที่ยังคงอนุรักษ์อาคารไม้ อายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี และเป็นแหล่งชุมชนวัฒนธรรม-จีนแคะ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ทางด้านนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวถึงการจัดงานว่า จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย สามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้ ซึ่งชุมชนจีนแคะหัวยกระบอกถือเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความสำคัญ จากอดีตที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าของประชาชน 3จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม ปัจจุบันชุมชนจีนแคะหัวยกระบอกยังคงเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่เชื่อมโยง 3 จังหวัด และยังคงอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในช่วงเทศกาลต่างๆ ไว้ได้เป็นอย่างดีในทุกปีชุมชนจีนแคะหัวยกระบอก จะมีประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ คือ การไหว้สักการะศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เจ้าพ่อสามภูเขา)องค์พระที่แท้จริงที่เดียวที่บรรพบุรุษนำมาจากจีนพร้อมการอพยพเพื่อคุ้มครอง ปกปักรักษาชุมชน การจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้สัมผัสวิถีชีวิตไทย-จีน และชมอัตลักษณ์ชุมชนจีนแคะห้วยกระบอก เรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสานมาอย่างยาวนาน
นางนภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีผู้ขับเคลื่อนและสานต่อนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม นำทุนทางวัฒนธรรมชุมชนจีนแคะหัวยกระบอก มาสร้างมูลคำเพิ่มทางเศรษฐกิจ กล่าวว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีได้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน และยกระดับงานเทศกาลประเพณีของท้องถิ่น โดยบูรณากาณร่วมกับ เทศบาลตำบลห้วยกระบอก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มูลนิธิประโยชน์มวลชนหัวยกระบอก และชมรมจีนแคะห้วยกระบอก และภาคีเครือข่ายจัดงานงานประเพณีประจำปีศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เจ้าพ่อสามภูเขา) และถนนสายวัฒนธรรมชุมชนจีนแคะห้วยกระบอก ประจำปี 2567ระหว่างวันที่ 2-7 เมษายน 2567 รวม 6 วัน ศาลเจ้าซั้มซั้นเกว็ดหวอง (เจ้าพ่อสามภูเขา)และชุมชนจีนแคะห้วยกระบอก ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป้ง จังหวัดราชบุรี

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี จัดโครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

จัดโครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อเช้าถึงกระบวนการยุติธรรมสามารถผลักดันไห้ประชาชนในชุมชนเกิดความสมานฉันท์
ที่ห้องประชุมวัดบัวงาม พระอารามหถวง ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี นายกิตตินันท์. แสงจันทร์ ปลัดอำเภอดำเนินสะดวก เป็นประธานเปิดโครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อเช้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยมีนายวิชัย เช่งก่ำ ประธานคณะทำงานบริหารศูนย์ใกส่เกลี่ยข้อพิพาทภาดประชาชนตำบลบัวงาม ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลบัวงาม กล่าวถึงโครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อเช้าถึงกระบวนการยุติธารม เนื่องด้วยปัจจุบัน กระบวนการยุติธรรม,เป็นส่วนหนึ่งในการดำเป็นชีวิดของประชาชนในสังคม.โดยเฉพาะการระงับ ข้อพิพาททางเลือก, (Alteratve Dsputr Resolution) ได้ถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่างๆ, เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทอย่างกว้างขวางในทุกระดับ
ดังนั้นเป็นการเปิดโอกาลให้ประชาชน ได้รับความรู้ด้านกฎหมายถึงการให้บริการกองทุนยุติธรรมและรับรู้ทราบถึงสิทธิและเสรีภาพถึงกระบวนกายุตีชรรม การอำนวยความเป็นธรรม พร้อมทั้งความรู้ในการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ ศ 2562 และ ความรู้ที่เกี่ยวข้องการช่วยเหลือในงานด้านยุติธรรม โตยมุ่งเน้นการสร้างให้เกิดกระ บวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง และสามารถผลักตันไห้ประชาชนในชุมชนเกิดความสมานฉันท์ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างกระบวนการในการแสวงหาความ ยุติธรรม โดยนำองค์ความรู้ไปแก้ไขปัญหาของชุมชน ให้ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมของซุมขน. ดังนั้น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้อย่างแท้จริง จึงได้ จัดโครงการตังกล่าวเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน จากกองทุนยุติธรรม ตาม พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 โดยมี ผู้ทรงคุณวุฒิ จากอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี และผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัตราชบุรี มาให้ความรู้ความเข้าไจต่อผู้บำชุมชน ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ชุมขน ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี มอบเงินเพื่อใช้ในอาคารวัฒนเวช

ครอบครัวนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีมอบเงินให้กับโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จำนวน 600,000 บาท เพื่อใช้ในอาคารวัฒนเวช
ที่บริเวณลานกิจกรรมโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี นายศักดิ์ชัย พิศาลผล นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ครอบครัวพิศาลผล พร้อิมทั้งครอบครัวเจริญไชยนันท์ นำโดย นายอธิสรรค์ นางอภิณห์พร เจริญไชยนันท์ ซึ่งเป็นครอบครัวภรรยาของนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี มีความประสงค์จะมอบเงินให้กับโรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 600,000 บาท เพื่อใช้ใน ในการจัดทำห้องพิเศษอาคารวัฒนเวช อาคาร 11 ชั้น โดยมีนายแพทย์ อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พร้อมคณะพยาบาลรับมอบเงินดังกล่าว โดยมีรองนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ทั้งสองหน่วยงาน พร้อม ลูก - หลาน ครอบครัวเจริญไชนันท์ เข้าร่วมมอบ
สำหรับอาคารวัฒนเวชโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เป็นอาคารศูนย์ความเชี่ยวชาญ ได้รับประทานนามจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 20 แปลว่า ศูนย์แห่งความเชี่ยวชาญ ซึ่งต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการดูแลรักษาโรคที่มีความชับซ้อน ที่มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโครงการคนละนิด เป็นโครงการระดมทุนสำหรับอาคารวัฒนเวชและศูนย์มะเร็ง เพื่อให้เป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญของเขตสุขภาพ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ในภาคตะวันตก และจังหวัดข้างเคียง โดยทางโรงพยาบาลได้นำเสนอศักยภาพของโรงพยาบาลที่มีศูนย์เชี่ยวชาญ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ใกล้บ้าน (Excellence for eve ryone)พร้อมทั้งมีเสวนาความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคไต โรคตับโรคมะเร็ง การผ่าตัดแบบส่องกล้อง แผลเล็กฟื้นตัวเร็ว การผ่าตัดสมองแบบผู้ป่วยตื่น เป็นต้น และยังแนะนำบริการคลินิกตรวจสุขภาพพิศษและคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ เป็นบริการทางเลือกเพื่อลดความแออัดและการรอคอยรักษาอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชนภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ที่โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงโปรดให้ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เอกอัครราชทูต เปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา ออกตรวจเยี่ยมการดำเนินการโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งโครงการสัตว์ปลอดโรคฯ มีการดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 การดำเนินการเป็นการบูรณาการร่วมกันจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ทั้งนี้มีเป้าประสงค์ให้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกมีพันธสัญญาให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดจากโลกในปี พ.ศ. 2573
จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่เป้าหมายของการดำเนินโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะมีกิจกรรมการฝึกอบรมแบบบูรณาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสู่ชุมชนมีกลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ คุณครู อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชุมชน ในการนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรมประมาณ 180 คน ซึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี มีข้อมูลประชากรสุนัขและแมวรวมทั้งสิ้น 206,673 ตัว ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไป 203,128 ตัว และผ่าตัดทำหมันไป 5,118 ตัว นอกจากนี้มีการจัดการฝึกอบรมให้กับอาสาปศุสัตว์จำนวนทั้งสิ้น 317 คน และในปีงบประมาณ 2567 มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อผลักดันให้เป็น อำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งได้แก่ อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอวัดเพลง ในจังหวัดราชบุรียังมีสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักพิงแก้วตาเพื่อสุนัขจร มีจำนวนสุนัขและแมวที่อยู่ในความดูแลรวม 1,180 ตัว และบ้านสงเคราะห์สุนัขปัาเอ๋ มีจำนวนสุนัขและแมวที่อยู่ในความดูแลรวม 400 ตัว