ที่ห้องประชุมโรงเรียนบรมราชินี
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เทศบาลเจ็ดเสมียน จัดงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ และของดีตำบลเจ็ดเสมียน ให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญ ร่วมกันสืบทอดงานประเพณี ไว้ให้กับลูกหลา...
-
นักโทษเรือนจำกลางราชบุรีก่อจลาจล ผลตาย 2 เจ็บอีกนับไม่ถ้วน เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 17 ก.พ. 54 เจ้าหน้าที่ห้องวิทยุของสภ.เมื...
-
ครูเพลงยัน เทพ โพธิ์งาม มีแต่การให้ ไม่มีการพนันในชีวิต จะประสบปัญหาที่หมดเปลืองในสิ่งที่เขาชอบพวกสัตว์ต่างๆ ที่บ้...
-
ตามจับยาบ้าได้ลิงแสมกว่า 15 ตัวที่เตรียมส่งขายเป็นของแถม เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 31 ส.ค.53 พ.ต.อ.สมเดช ฐิตวัฒนะสกุล ผกก.สภ.บ้านโป่ง จ....
-
ทศบาลตำบลห้วยชินสีห์จัดงานสืบสานประเพณีขึ้นเขาไกรลาส ย้อนรำลึกนางพันธุรัตน์และสังข์ทอง สำหรับการจัดงานประจำปี...
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เขต 8 จัดประชุมมอบนโยบายสถานศึกษาในสังกัด
ที่ห้องประชุมโรงเรียนบรมราชินี
กรมพัฒนาพลังงานฯจัดกิจกรรม “ ไบโอแก๊สเซฟตี้ แฮปปี้ทั่วไทย ”
นางรจิตรา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมเชิงวิชาการ( เวทีสาธารณะ ) โครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิตและใช้แก๊สชีวภาพในชุมชน “ ไบโอแก๊สเซฟตี้ ” ที่ห้องประชุมโรงแรมโกลเด้นซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ซึ่งปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก มีการผลิตและการใช้เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ หรือ ไบโอแก๊ส อย่างแพร่หลายทั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึงชุมชน ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรฐานเฉพาะใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออแบบไบโอแก๊ส การผลิตและการใช้ไบโอแก๊สโดยตรง แต่มีการใช้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในปี 2551 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้จัดแนวทางการกำหนดความปลอดภัยในการออกแบบระบบผลิตและใช้ก๊าซ เนื่องจากผู้ผลิตและผู้ใช้ไบโอแก๊สซึ่งมีตั้งแต่โรงงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่จนถึงโรงงานฟาร์มขนาดเล็กหรือชุมชนทั่วไป ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือเรื่องความปลอดภัย สาเหตุมาจากความไม่เข้าใจในกระบวนการผลิตและดูแลรักษาระบบ ขาดความรู้ด้านความปลอดภัยในการผลิตและการใช้แก๊สชีวภาพอย่างถูกต้อง หรือประมาทเลินเล่อทำให้ละเลยเรื่องความปลอดภัยจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยจากการผลิตและการใช้แก๊สชีวภาพอย่างถูกต้อง จัดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน- พฤษภาคม ในพื้นที่ 10 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี พัทลุง เชียงใหมลำพูน ลำปาง ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ลพบุรี ราชบุรี ชลบุรี ลักษณะกิจกรรมประกอบด้วยการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อพบกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านไบโอแก๊สกับผู้ประกอบการจากโรงงานอุตสาหกรรมและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ และเวทีบันเทิง ที่นอกจากจะให้ความบันเทิงหลายรูปแบบแล้วยังสอดแทรกสาระความรู้การผลิตและการใช้แก๊สชีวภาพอย่างปลอดภัยระดับครัวเรือนให้กับผู้ร่วมงานในชุมชน
ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของกิจกรรมนี้ คือ เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถผลิตพลังงานทดแทนใช้เองได้อย่างยั่งยืน
คัดเลือก 3 หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข
ราชบุรีคัดเลือก 3 หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข
นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “ อยู่เย็น เป็นสุข ”ดีเด่น ประจำปี 2555 ที่บ้านหนองจอก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โดยมี นายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอบ้านคา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ สำหรับบ้านหนองจอก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพันจันทร์ ได้รับการส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2555 เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการพัฒนาหมู่บ้าน โดยการวางแผนของชุมชน คือ การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม โดยที่ไม่ทำตัวให้เป็นภาระของส่วนราชการ ซึ่งสังเกตได้จากกิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำร่วมกัน เรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ ได้ดำเนินการพัฒนาไปพร้อมๆกัน ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาหมู่บ้าน
สำหรับจุดเด่นของหมู่บ้านหนองจอกคือ ประชาชนมีความรัก สามัคคี มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านคา ได้ดำเนินงานร่วมกับหมู่บ้านหนองจอก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนที่มีผลงานและกิจกรรมพัฒนาดีเด่นระดับจังหวัดให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน โดยกำหนดให้มีกิจกรรมที่จะเข้ารับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและโล่รางวัลสิงห์ทอง โดยเข้าร่วมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัด ในวันนี้ ซึ่งหมู่บ้านหนองจอก มีการพัฒนาบริหารจัดการชุมชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส คุ้มค่า ยึดประโยชน์ของประชาชน อำนวยความสะดวกให้บริการประชาชน ยึดการมีส่วนร่วมของประชาชน รักษาประโยชน์ส่วนรวม ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ทันสถานการณ์แก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่เดือดร้อนทุกข์ยาก และบ้านหนองจอกยังได้น้อมนำการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ด้านการพัฒนาคน การส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การลดรายจ่าย ปลูกผักสวนครัวกินเองร้อยละ 80 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน การจัดทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน การที่ทุกคนประหยัดโดยทำโครงการออมด้วยกระบอกไม้ไผ่ไม่ถอนจำนวน 5 ปี จำนวนร้อยละ 70 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน ด้านการเพิ่มรายได้ ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านประกอบอาชีพเสริมในการเพิ่ม เช่น การเพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพกวนสับปะรด เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ร้อยละ 75 การสนับสนุนโครงการผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน “1ไร่ 1 แสน” เป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพให้ครบถ้วนทุกครัวเรือนภายในปี 2556 ด้านการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการกำจัดขยะส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมการกำจัดขยะแบบถูกวิธี โดยสาธารณสุขตำบลหนองพันจันทร์ให้คำแนะนำพร้อม อสม. ร้อยละ 80 มีการอนุรักษ์ผืนป่าไว้จำนวน 380 ไร่ เป็นสาธารณสมบัติของหมู่บ้านและปลูกป่าโดยกลุ่มเยาวชนและประชาชนบ้านหนองจอกทุกปี
อย่างไรก็ตามจังหวัดราชบุรีได้พิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ”อยู่เย็น เป็นสุข”ดีเด่นที่ได้รับการกลั่นกรองเข้ารอบจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองจอก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 บ้านลาดบัวขาว หมู่ที่ 4 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง บ้านหัวเขาจีน หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ
อุโบสถวัดโรงช้างราคากว่า 50 ล้านพื้นปูนและเสาแตกร้าว
อุโบสถวัดโรงช้างราคากว่า 50 ล้านพื้นปูนและเสาแตกร้าวเกรงจะเกิดทรุดตัวลง
นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายศิริศักดิ์ ตาลบำรุง นักวิชาการชำนาญการสำนักพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยพระครูสมุหสมศักดิ์ มเหสักโข เจ้าอาวาสวัดโรงช้าง ตรวจสอบสภาพความเสียหายของผนังพื้น และเสาปูน ของอุโบสถวัดโรงช้าง ตั้งอยู่ถนนสายราชบุรี – เขางู เขตเทศบาล อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ราคากว่า 50 ล้านบาท เกิดการแตกร้าวจํานวนมาก เนื่องจากเกิดฝนตกลงมาทําให้นํ้าซึมอยู่ใต้แผนปูนกัดกล่อนเหล็กเส้นบริเวณพื้นปูนจนเป็นสนิมเกิดการระเบิดแตกร้าวปูนแตกออกมาจํานวนมาก สร้างความเสียหายในกับรากฐานของอุโบสถที่มีอายุประมาณ 50 กว่าปีแล้ว ซึ่งเป็นอุโบสถเก่าแก่ของวัด และได้มีการบูรณะใหม่เมื่อประมาณ 10 แล้ว โดยบริเวณพื้นปูนนํ้าที่ซึมซัดเอาไว้ได้ไหลออกมาทางพนังพื้นปูนตลอดเวลา ทั้งนี้หากไม่มีการซ่อมแซมอาจจะเกิดทําให้อุโบสถทรุดตัวลงจนสร้างความเสียหายได้
จากการตรวจสอบฐานรากของอุโบสถดังกล่าว พบว่ามีการแตกร้าวเสี่ยงต่อการทรุดตัว ซึ่งทางวัดได้ให้ทางสํานักงานโยธาและฝังเมืองจังหวัดราชบุรี ตรวจสอบเพื่อประเมินราคาในการซ่อมแซมคาดว่าประมาณ 3 ล้าน โดยทางวัดยังไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม จึงขอความเมตตากับผู้ใจบุญมาร่วมกันสมทบทุนในการซ่อมแซมอุโบสถ
พระครูสมุหสมศักดิ์ มเหสักโข เจ้าอาวาสวัดโรงช้าง กล่าวว่า อุโบสถหลังนี้สร้างมา 2 เจ้าอาวาสแล้ว ปัจจุบันได้ดูแลบูรณะเป็นรุ่นที่ 3 ยังไม่สำเร็จเป็นรูปแบบมีอายุก่อสร้างมากว่า 50 ปีแล้ว งบประมาณสมัยนั้นประมาณ 4 ล้านบาท อาตมาได้จัดสร้างตั้งแต่ช่อฟ้า ใบระกา ซุ้มประตู หน้าต่างบานภายนอกภายใน พื้นระเบียงจนสำเร็จเรียบร้อยเหลือแต่กำแพงแก้วที่จะทาสีขาวจึงจะเสร็จสำบูรณ์ เปลี่ยนไฟรอบ อุโบสถใหม่ โดยได้นักเรียนจากวิทยาลัยเทคนิคราชบุรีมาดำเนินการให้ จึงนำพาลงไปใต้ถุนโบสถ์เพื่อจะชี้จุดทำไฟสายเมนเข้ามาบริเวณ หลังนำพาเด็กนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคลงไปแล้วก็ไปพบตีนเสาโบสถ์ที่แตกร้าว จึงได้ไปขอร้องเจ้าหน้าที่โยธาจังหวัดเข้ามาตรวจสอบและดูแลซึ่งทางเจ้าหน้าที่บอกว่า เดิมสมัยก่อนจะใช้หินก้อนใหญ่มวลสารที่ก่อสร้างไม่ค่อยรัดตัวทำให้เป็นช่องโหว่ของอากาศสามารถเข้าได้ พออากาศเข้าไปนานๆเกิดสนิมกินบริเวณในเสาที่ก่อด้วยเหล็กจึงเกิดการเบ่งตัว ก็เลยระเบิดจนปูนที่ก่อตัวเป็นเสาเกิดแตกร้าวระเบิดออก พออากาศเข้าไปเรื่อยก็ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง เป็นข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โยธาจังหวัดที่ให้ข้อมูลมา เมื่อวานก็มาแจ้งกับทางวัดว่าต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็วช้าไม่ได้อีกแล้ว ทางวัดก็ไม่มีเงิน เบื้องต้นที่ได้รับแจ้งจากโยธาจังหวัดต้องใช้งบประมาณ 8 แสนบาท จากทั้งหมดรวม 3 ล้านบาท จึงขอให้ผู้มีจิตรศรัธาร่วมบริจาคเงินซ่อมแซมอุโบสถให้คงทนถาวรให้อยู่คู่กับวัดโรงช้างต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)