บทความที่ได้รับความนิยม
-
เทศบาลเจ็ดเสมียน จัดงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ และของดีตำบลเจ็ดเสมียน ให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญ ร่วมกันสืบทอดงานประเพณี ไว้ให้กับลูกหลา...
-
นักโทษเรือนจำกลางราชบุรีก่อจลาจล ผลตาย 2 เจ็บอีกนับไม่ถ้วน เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 17 ก.พ. 54 เจ้าหน้าที่ห้องวิทยุของสภ.เมื...
-
ครูเพลงยัน เทพ โพธิ์งาม มีแต่การให้ ไม่มีการพนันในชีวิต จะประสบปัญหาที่หมดเปลืองในสิ่งที่เขาชอบพวกสัตว์ต่างๆ ที่บ้...
-
ตามจับยาบ้าได้ลิงแสมกว่า 15 ตัวที่เตรียมส่งขายเป็นของแถม เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 31 ส.ค.53 พ.ต.อ.สมเดช ฐิตวัฒนะสกุล ผกก.สภ.บ้านโป่ง จ....
-
ทศบาลตำบลห้วยชินสีห์จัดงานสืบสานประเพณีขึ้นเขาไกรลาส ย้อนรำลึกนางพันธุรัตน์และสังข์ทอง สำหรับการจัดงานประจำปี...
วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568
ราชบุรีจัดงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์
เทศบาลเจ็ดเสมียน จัดงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ และของดีตำบลเจ็ดเสมียน ให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญ ร่วมกันสืบทอดงานประเพณี ไว้ให้กับลูกหลาน
ที่ห้องประชุมชั้น 1 สำนักงานเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม ได้มีการจัดแถลงข่าวจัดงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ขึ้นโดยมีนายเทวัญ ห่วงตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลเจ็ดเสมียน นั่งเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี นายอำเภอโพธาราม ท้องถิ่นอำเภอโพธาราม วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอ โพธาราม กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และสื่อมวลชลหลายแขนง เข้าร่วมงานแถลงข่าว โดยเบื้องหน้าโต๊ะแถลงข่าวนั้นได้นำสินค้าโอทอปของดีตำบลเจ็ดเสมียนมาตั้งวางโชว์ไม่ว่าจะเป็นไซโป้วหวาน เค็กมะพร้าวอ่อน มะขามเทศ ไข่เค็มสมุนไพร ฯลฯ
งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ เป็นงานประเพณี ที่ประชาชนตำบลเจ็ดเสมียนร่วมกัน อนุรักษ์ไว้กว่า 119 ปี ในอดีต หลังจากที่ชาวบ้านเหน็ดเหนื่อยจากการทำนา เก็บเกี่ยวข้าวเข้ายุ้งฉาง เป็นที่ เรียบร้อย ในเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะช่วยกันขนทรายจากแม่น้ำมาก่อพระทราย แล้วเดินลัดเลาะ ทุ่งนา ตามหนอง ตามคลอง เก็บดอกไม้ ได้แก่ ดอกทองกวาว ดอกลีลาวดี มาคนละกำสองกำ เพื่อมาประดับประดา ตกแต่งเกวียน และขบวนแห่ ส่วนดอกไม้ที่เหลือ ก็จะนำไปสักการะกองผ้าป่าฯ และนำไปปักที่กองพระทราย โดยมีวงมโหรีบรรเลง และเคลื่อนขบวนแห่ กองผ้าป่าฯ เดินเลาะไปตามทุ่งนา ร้องรำทำเพลงกันอย่าง สนุกสนาน จุดหมายปลายทาง คือ วัดเจ็ดเสมียน เมื่อถึงวัดเจ็ดเสมียน ชาวบ้านถวายผ้าป่าฯ มีการละเล่น พื้นบ้าน เช่น ลูกช่วง รำมอญซ่อนผ้า การละเล่นเข้าผี ซึ่งเป็นการละเล่น ของคนไทย เชื้อสายเขมร มีการเข้าผี กระด้ง ผีสุ่ม บนศาลาการเปรียญของวัดก็จะมีการร้องรำทำเพลง เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงพวงมาลัย กันอย่างสนุกสนาน
นายเทวัญ ห่วงตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลเจ็ดเสมียน กล่าวว่า งานประเพณี แห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ซึ่งในปัจจุบัน ได้จัดให้มีขบวนแห่ดอกไม้ โดยมีรถบุปผชาติที่ชุมชนในตำบลเจ็ดเสมียน ได้ตกแต่ง ประดับประดาด้วยดอกไม้ อย่างสวยงาม เพื่อร่วมสืบสานงานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์
งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีการสืบทอด เป็นระยะเวลา ที่ยาวนาน และเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม ความเสียสละ การมีส่วนร่วม และความสามัคคีในหมู่คณะ ของคนในชุมชน พร้อมทั้งประชาชน ในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณีให้คงอยู่กับตำบลเจ็ดเสมียน และเมื่อปี พ.ศ. 2562 งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ ได้รับการประกาศจากจังหวัดราชบุรี ให้เป็น งานประเพณีเฉพาะในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืองานประเพณีท้องถิ่น
เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดงานแห่ดอกไม้ท้ายกรานต์ เพื่อให้ประชาชน ทำกิจกรรมและสืบทอดงานประเพณี ไว้ให้กับลูกหลานรุ่นต่อไป และเห็นถึงความสำคัญของ การอนุรักษ์ประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ และของดีตำบลเจ็ดเสมียน สำหรับงานนั้นจะเริ่มขึ้นวันที่กิจกรรมในวันที่ 18-20 เมษายน 2568 มีกิจกรรมประกวดแฟนซีรีไซเคิล การแข่งขันเรือหัวใบ้ท้ายบอด การประกวดรถบุปผชาติ การประกวดนางงอมหัวไชโป้ว การประกวดธิดาดอกไม้ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ แข่งขันก่อพระเจดีย์ทราย และที่เป็นไฮไลท์ที่พึ่งจะจัดในครั้งแรกคือการแข่งขันม้าเต้น โดยมีเจเาของม้าจากทั่วประเทศนำม้าของตัวเองมาแข่งขันการเต้นสวยงามและตามจังหวะเพลง ซึ่งคาดว่าจะมาม้าเข้ามาแข่งขันกว่า100ตัว
ราชบุรี ขับเคลื่อนงานด้าน อววน.และ ”Kick off “เพื่อ ด้านมวยไทย
ผู้ช่วย รมว. กระทรวง อว.ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน.และ ”Kick off “เพื่อขับเคลื่อน Soft Power ด้านมวยไทย” ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. และ ”Kick off “การส่งเสริมงานด้าน อววน. เพื่อขับเคลื่อน Soft Power ด้านมวยไทย” ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง เมืองราชบุรี นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีแนวทางที่ดีในการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ทำให้บัณฑิตสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวง อว. เองก็ได้มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา
สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบในการร่วมผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์สถานประกอบการภายใต้โครงการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE) ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสฝึกงานและสร้างเครือข่ายการจ้างงานที่กว้างขึ้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดได้เป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพทั้งสติปัญญา กาย ใจ ด้วยการพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สัมมาชีพในชุมชน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาผ่านประสบการณ์การทำงานมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีโครงการที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมเกษตรถือเป็นจุดแข็งที่ช่วยยกระดับท้องถิ่นได้จริง และอยากให้มหาวิทยาลัยเร่งผลักดันงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยงนักวิจัย ผู้ประกอบการ และนักลงทุน ซึ่งกระทรวง อว. มีผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายหลายหน่วยงานที่พร้อมและยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งงบประมาณการสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่ด้าน Soft Power มวยไทย การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมด้านมวยไทยเป็นแนวคิดที่ดีที่ช่วยอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ และแปลงมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมทั้งการกีฬา และการท่องเที่ยว อยากให้มหาวิทยาลัยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์กลางในเรื่องนี้ ขยายผลไปยังสถาบันอื่นที่สนใจร่วมขับเคลื่อนให้กระจายทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงขยายกิจกรรมสู่ระดับนานาชาติ เช่น การจัดการแข่งขันหรือหลักสูตรแลกเปลี่ยนด้านมวยไทย เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยจากการลงฟื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ในวันนี้ ทางกระทรวงอว. ได้เห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยและจุดเด่นของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะมวยไทยซึ่งเป็น Soft Power ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านอุตสาหกรรมกีฬา ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสื่อบันเทิงซึ่ง กระทรวง อว. เล็งเห็นว่าในอนาคตอาจร่วมกันพัฒนาบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับมวยไทย โดยนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา เช่น ฟิตเนสเพื่อสุขภาพ การพัฒนาอุปกรณ์กีฬา เทคโนโลยีการฝึกซ้อม หรือศาสตร์การแพทย์แผนไทย สื่อดิจิทัลเกี่ยวกับมวยไทยหรือการพัฒนาแพลตฟอร์มเรียนรู้มวยไทยออนไลน์ โดยเร่งประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและนักลงทุน เพื่อขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยนำมวยไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และเป็นอีกหนึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ กระทรวง อว. จะเร่งผลักดันให้เกิดโครงการอบรมและรับรองมาตรฐานครูมวยไทยระดับสากล เพื่อส่งเสริมให้ครูมวยไทยสามารถไปทำงานในต่างประเทศได้สนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสฝึกงานกับค่ายมวย สถานที่ท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างทักษะการทำงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด และส่งเสริมให้เยาวชนและนักศึกษาที่สนใจมวยไทยสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ทุนการศึกษา หรือโครงการแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาตนเองสู่ระดับสากลได้ต่อไปกระทรวง อว. มุ่งมั่นสนับสนุนการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมมาใช้พัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน และยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เราเชื่อว่าการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ จะช่วยให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงในการเผยแพร่แนวทางเหล่านี้ และหวังว่าจะได้ร่วมมือกันต่อไปในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การศึกษา และเศรษฐกิจ รวมทั้งมวยไทยเพื่อสร้างโอกาสให้กับคนไทย และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เวทีโลก
นางสาวประภารัตน์ นาคผจญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า ในนามของจังหวัดราชบุรี รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับท่านและคณะ ในโอกาสที่ได้กรุณาเดินทางลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อน งานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาจังหวัดราชบุรี ตลอดจนการส่งเสริมอัตลักษณ์ การสืบสานภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ผ่านแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำศิลปะมวยไทยมาสร้างคุณค่าและเพิ่มพูนศักยภาพกำลังคน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้มีบทบาทสำคัญในการสืบสาน ต่อยอด และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมจังหวัดราชบุรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ท่านและคณะคงได้เห็นถึงศักยภาพอันหลากหลายของจังหวัดราชบุรี ทั้งในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งล้วนเป็นฐานรากสำคัญที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามนโยบายของรัฐบาลในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้มีบทบาทสำคัญในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมมาขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดราชบุรีอย่างเป็นรูปธรรม โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ ผ่านการให้บริการวิชาการ
งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่เกี่ยวข้องกับ “มวยไทย” ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย มหาวิทยาลัยฯ ได้สืบสานและต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าวสู่การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านกีฬา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการศึกษาตลอดช่วงวัย ซึ่งล้วนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลงพื้นที่ของท่านในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนแนวคิด และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับพื้นที่กับกระทรวง อว. เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรีต่อไปนายทัศนา แช่มสะอาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเบิกไพร กล่าวว่า ขอขอบพระคุณ ที่ท่านได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมบูธนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการ "ต้นกล้ามวยไทยตำบลเบิกไพร" เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและขับเคลื่อนศิลปะมวยไทยในระดับชุมชนศิลปะมวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งในด้านศิลปะการต่อสู้ การออกกำลังกาย และการส่งเสริมคุณธรรมวินัยแก่เยาวชน โครงการ "ต้นกล้ามวยไทยตำบลเบิกไพร" จึงเกิดขึ้นเพื่อต่อยอดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนในท้องถิ่น เพื่อให้มวยไทยเป็นที่แพร่หลายและได้รับการอนุรักษ์สืบทอดอย่างยั่งยืนเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะช่วยส่งเสริมและขยายโอกาสให้เยาวชนได้เข้าถึงการเรียนรู้ศิลปะมวยไทยอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)