นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการสัมมนาการส่งเสริมอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขาอาชีพ ระดับภาค ที่โรงแรมเวสเทริ์นแกรนด์ อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีนายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวให้การต้อนรับ นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะวงศ์ ปลักกระทรวงแรงงาน กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา
เนื่องจากปี 2551 กระทรวงแรงงาน ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยคณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ซึ่งจะใช้กับนายจ้างและลูกจ้างทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าลูกจ้างนั้น จะมีสัญชาติใด ขณะนี้ได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้ว 2 ฉบับ ครอบคลุม 22 สาขาอาชีพ ฉบับแรกมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2554 ฉบับที่ 2 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2554 โดยราชบุรีถือว่าของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของภาคที่รวมของ 7 จังหวัด เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานที่สนใจจะยกระดับฝีมือแรงงาน จากไม่มีฝีมือแรงงานเลยมาถึงกึ่งฝีมือ และพัฒนาขึ้นไปถึงแรงงานที่สมบูรณ์แบบ ที่เรียกว่าชำนาญการ วันนี้มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าครองชีพดีขึ้นตามฝีมือที่ได้รับอบรมไปแล้ว ซึ่งอนาคตจะมีเพิ่มเติมอีก 11 สาขาอาชีพด้วย
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ส่วนค่าแรงตามนโยบายพรรคที่ได้ประกาศออกไประหว่างก่อนหาเสียง ทำให้ค่าแรงของพี่น้องทั้งประเทศเป็น 300 บาท ตามสิ่งที่เราได้ทำสัญญาประชาคมไว้ แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่สอดคล้องกัน ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่ไม่ว่าจะเป็นราชบุรีก็จะได้รับความยุติธรรมเช่นกัน โดยตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำประกอบด้วยไตรภาคีจะประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาลจะต้องเห็นพ้องต้องกัน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายเหมือนในอดีตมา ว่าทำไมต้องมีจังหวัดพะเยาที่มีค่าแรงขั้นต่ำ 159 บาท และจังหวัดภูเก็ตที่มีอัตราค่าจ้างสูงที่สุด และอนาคตจะมีการแข่งขันกันในเวทีการค้าโลกอย่างเข้มข้น มีการจัดเขตการค้าเสรีกับนานาประเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศของตนและประเทศสมาชิก โดยไทยก็ต้องเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก ต้องแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง ในปี 2558 จะเริ่มการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภูมิภาคอาเซียนหรือ AEC 2015 ซึ่งไทยจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ แรงงานไทย ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตและการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ และเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่มุ่งให้มีการคุ้มครองดูแลทั้งลูกจ้างและนายจ้างให้ได้รับประโยชน์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ได้มีการกำหนด 7 จังหวัดนำร่องของประเทศที่จะได้รับอัตราค่าจ้าง 300 บาทแล้ว คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปทุมธานี มีผลวันที่ 1 มกราคม ปี 2555
ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีผู้ใช้แรงงานเข้าร่วมกว่า 500 คน พร้อมทั้งมอบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบด้านฝีมือแรงงานในสาขาต่าง ๆ ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น