ชาวเจ็ดเสมียนส่งหนังสือบริษัทไฟฟ้าราชบุรีโฮลดริ้งถอนหุ้น
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 28 กันยายน 2554 นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านในอ.โพธาราม อ.จอมบึง อ.เมือง จ.ราชบุรี และชาวบ้านจาก จ.สมุทรสาคร จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว่า 150 คน นำโดยนายวีระยุทธ์ อิ่มศีล แกนนำชาวบ้านตำบลเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี และ นายชัยณรงค์ วงศ์ศศิธร แกนนำชาวบ้านจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณวัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมตัวกันทำพิธีสาบานตนว่าจะช่วยกันต่อสู้และคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ราชบุรี ซึ่งจะมาก่อสร้างใน ต.เจ็ดเสมียน โดยบริษัท ราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ที่ร่วมทุนกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีโครงการจะเข้ามาทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เนื่องจากใน จ.ราชบุรีในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้วถึง 6 โรง หากปล่อยให้มีการก่อสร้าง เกรงจะเกิดผลกระทบทั้งเรื่องของน้ำซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักจะไม่พอใช้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าจะต้องดูดน้ำไปใช้จำนวนมาก รวมทั้งมลพิษทางเสียงและอากาศ จึงต้องรวมตัวกันคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้าง จากนั้นก็เคลื่อนขบวนไปที่หน้าบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพื่อทำการยื่นหนังสือกับนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ให้มีคำสั่งระงับและยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ทันที และไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในจ.ราชบุรีเพิ่มขึ้นอีก หลังจากรับหนังสือจากผู้ชุมชุนประท้วงนายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้แทนเครือข่ายประชาชน ตำบลเจ็ดเสมียนและพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีความกังวลใจต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะมีขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ซึ่งเดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียน เพื่อผ่านไปยัง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ให้ทบทวนการถอนหุ้นในโครงการดังกล่าว โดยหลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งไปยัง ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในโครงการดังกล่าว สำหรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก กำลังผลิต 224 เมกะวัตต์ ที่ร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยเวอลด์ เพาเวอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) อีกร้อยละ 40 ซึ่ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) เป็นเพียงบริษัทฯ ในเครือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เท่านั้นจึงไม่ใช่ผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว โดยได้ส่งมอบเรื่องดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชี้แจงต่อ ภาครัฐบาล ในฐานะเจ้าของนโยบายด้านพลังงานที่จะต้องบริหารการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงสูงสุด และผู้ถือหุ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น