บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี คณะกรรมาธิการับฟังปัญหาปุ๋ยแพงเร่งแก้ใข

คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ลง รับฟังสภาพปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้กรณีปัญหาราคาปุ๋ยแพง ที่ส่งผลให้การบริหารจัดการมีต้นทุนที่สูงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมอำเภอดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร สส.ราชบุรี เขต 2 ประชุมคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดราคาปุ๋ย เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้กรณีปัญหาราคาปุ๋ยแพง ที่ส่งผลให้การบริหารจัดการมีต้นทุนที่สูงขึ้น อันเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภค โดยมี นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นางสาววริษฐา สงวนเสริมศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี นายชัยทิพย์ กมลพันธุ์ทิพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดราชบุรี เขต 5 นายสุชัช สายกสิกร ผู้ใหญ่หมู่ที่ 1 ต.ดอนไผ่ และเกษตรกรชาวอำเภอดำเนินสะดวก เข้าร่วมรับฟังปัญหา วิกฤตอาหารในระดับโลกที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น จะทำให้เป็นโอกาสของเกษตรกรที่ปลูกพืช แต่ต้นทุนปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรของประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาในตลาดกลับไม่ได้ปรับขึ้นตามราคาของสินค้าอื่นๆ
โดยนายสุชัช สายกสิกร ตัวแทนเกษตรกร กล่าวถึงปัญหา เนื่องจากรายการลคราคาปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงพานิชย์ ไม่มีสูตรปุ้ยที่ใช้กับไม้ผลพืชสวนและไม้ผลพืชไร่ เช่น ส้ม มะนาว องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ มะพร้าว ทุเรียน เงาะ ลำใย ทั้งหมดนี้เป็นพืชที่ต้องการใช้ปุยปริมาณมากกว่าพืชไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดตามความต้องการของผู้บริ โภค และให้ทันกับช่วงราคาของผลผลิตที่เกมตรกรต้องการ เพื่อให้คุ้มกับตันทุนที่ลงทุนในแต่ละครั้งของช่วงเก็บเกี่ยวจะมีการใช้ปุ๊ยเกือบตลอดทั้งปีของการผลิตไม้ผล จึงทำให้ใช้ปุ๊ขมากกว่าพืซไร่ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลังปาล์ม และยางพารา ซึ่งพืชทั้ง 5 ชนิดนี้ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าจึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงขอความอนุเคราะห์ จากหน่วยงานภาครัฐ ให้ช่วยลคราคาปุ้ยทั้งสองกลุ่มนี้ให้เหมือนกัน
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ ได้กล่าวถึง แนวทางการแก้ปัญหา ปุ๋ยแพง ด้วยนำนโยบาย ปุ๋ยคนละครึ่ง ประชาชนจะได้ใช้ปุ๋ยในราคาถูก โดยรัฐบาลจะเข้าไปอุดหนุน 50 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนลดลง จะสามารถแก้ปัญหาเกษตรกรที่ปุ๋ยแพง ยกระดับคุณภาพชีวิต สามารถลดต้นทุนการผลิตจะทำให้ มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นสร้างงานสร้างรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปุ๋ยคนละครึ่ง จะเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง จะมีรายได้ที่สูงขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน อย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น