บทความที่ได้รับความนิยม
-
เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดตากแดดชมรมแอโรบิคประสพความสำเร็จไปแข่งขันระดับประเทศขาดชุดหมดทุนขอรับบริจาค วันที่ 6 มกราคม 2560 ท...
-
พร้อมเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (เปลือกมะพร้าว) นายจตุพร โสภารักษ์ กรรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ...
-
ผู้ว่าราชบุรีจับมือผู้ว่าสมุทรสงครามเปิดงานตลาดถนนเพลินเพลง หรือตลาดน้ำ 3 อำเภอ เป็นการฟื้นฟูตลาดน้ำเก่าเพื่อช่วยเหลือเพิ่มช่องทางให้ผู้ประก...
-
อดีต รมช.คมนาคมพาชาวบ้านร้องศูนย์ดำรงธรรมถูกตำรวจและผู้ใหญ่บ้าน อุ้มหายตัวไป ทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็ บ ...
-
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพร้อมตำรวจ นำหนุ่มที่ถูกผู้ใหญ่บ้านอุ้มไปจำลองเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุเพื่อประกอบสำนวน วันที่ 1...
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567
ราชบุรี ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้
โรงไฟฟ้าราชบุรี จับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมและการเกษตรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด หรือโรงไฟฟ้าราชบุรี ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการ และหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแปรสภาพวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมและการเกษตร (เปลือกมะพร้าว) ไปใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณเศษวัสดุจากมะพร้าวน้ำหอมที่มีจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
นายจตุพร โสภารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด กล่าวว่า “มะพร้าวน้ำหอม” คือสินค้า GI ของจังหวัดราชบุรี และเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาเกษตรกรยังประสบปัญหาเรื่องการกำจัดเศษวัสดุจากการแปรรูปมะพร้าว ทำให้เกิดการกองทิ้งและเกิดปัญหากลิ่นรบกวนในชุมชน และในเกษตรกรบางรายที่ไม่มีพื้นที่ ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกองเก็บเปลือกมะพร้าวเพิ่มขึ้นด้วย โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการร่วมมือกันหา แนวทางแก้ไขปัญหาข้างต้นให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดราชบุรีแล้ว ยังเป็นการหาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการพัฒนาพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี หลังจากหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ.ในปี 2570 สำหรับในการศึกษาในครั้งนี้ จะศึกษาไปใน 2 แนวทางคือการนำเศษวัสดุจากมะพร้าวไปแปรรูปเป็นถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) ที่ใช้ในการปรับปรุงดิน และการแปรรูปเป็นถ่านเชื้อเพลิง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการร่วมศึกษาหาแนวทางการใช้เทคโนโลยี และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น