บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นายกรัฐมนตรีให้ชะลอ มติ ครม.

เกษตรกรเลี้ยงกุ้งเตรียมล่ารายชื่อยื่นถึงนายกรัฐมนตรีให้ชะลอ   มติ ครม.
              ที่บริเวณศาลาเอนกประสงค์โรงเรียนวัดลํานํ้า  หมู่ที่  6  ตําบลดอนใหญ่  อําเภอบางแพ  จังหวัดราชบุรี    เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาพกลาง  ทั้งที่อําเภอบางแพ  จังหวัดราชบุรี  จังหวัดนครปฐม  และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ประมาณ 200 คน   ประชุมหารือ เตรียมความพร้อมในการล่าลายชื่อเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเสนอต่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   นายกรัฐมนตรี ทีเห็นชอบการแก้ใขปัญหาการใช้ความเค็มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่  3/2553 เมื่อวันที่  8 กณกฎาคม  2553  โดยปรับปรุงข้อความในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่  2/2541 ลงวันที่   22 กรกฎาคม  2541จาก ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด เป็น   “เพื่อระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์สัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด  ทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่เลี้ยงกุ้ง   โดยมีนายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  นายอนุเดช   เชี่ยวชาญวิลิตชกิจ   นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าไทย   เดินทางมาร่วมรับฟังปัญหา    
                นายประกอบ  ทรัพย์ยอดแก้ว  อุปนายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าไทย  ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งคุณภาพจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า      จากมติ ครม.ที่เปลี่ยนระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดเป็น “เพื่อระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์สัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด   ทําให้เกิดผลกระทบกับเกษตรผู้เลี้ยงกุ้งจํานวน  55  จังหวัดทั่วประเทศ  ส่งผลให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งทั่วประเทศเริ่มประสบปัญหา  เนื่องจากเป็นอาชีพดั้งเดิมที่ทํามากว่า  20  ปีแล้ว   ซึ่งได้มีการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ประยุกต์ในการเลี้ยง  เช่น  นํากุ้งขาวแวนาไม  จากรัฐฟลอริดา  และรัฐฮาวาย   มาเลี้ยงผสมผสาน     สามารถเพาะพันธุ์กุ้งเพสผู้ได้ทั้งหมด  อีกทั้งยังปลอดสารพิษด้วย  ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดที่ต้องการกุ้งตัวโต   โดยเฉพาะพื้นที่อําเภอบางแพจังหวัดราชบุรี    เลี้ยงกุ้ง และปลา   ประมาณ  80 % ของพื้นที่  ประมาณ  3,657 ไร่  จํานวนมากกว่า  200  ราย    ผลิตกุ้งได้ปีละกว่า  6,494  ตัน   ส่งออกต่างประเทศปีละกว่าสองหมื่นล้านบาท 
                  จึงขอเรียนร้องหน่วยงานภาครัฐให้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง  พร้อมหาแนวทาง ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ  เนื่องจากสภาพความเป็นจริงแล้ว  ไม่ตรงกับข้อมูล  หากเกษตรเลี้ยงกุ้งสร้างความเดือดร้อนด้านสิ่งแวดล้อมจริง  ก็สามารถมาดูได้ว่าในพื้นที่ก็มีการปลูกพืชผักทางการเกษตรบริเวณคันบ่อเลี้ยงกุ้ง   สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขาย และบริโภคในครัวเรือนได้ และน้ำที่เลี้ยงกุ้งในปัจจุบันก็ไม่เกินมาตรฐานที่กรมชลประทานกำหนดอย่างแน่นอน
                  อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ร่วมกันล่าลายซื่อ  เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาลให้ชะลอมติ  ครม.ดังกล่าว  และขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมลงมาตรวจสอบและวิจัยคุณภาพนํ้าว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่  และข้อให้จบด้วยการตรวจสอบด้วย  อีไอเอ  ซึ่งขณะนี้ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกําลังรวมตัว และเอกสารยื่นถึงนายรัฐมนตรี  เพราะทุกคนไม่ต้องการที่จะไปปิดถนนประท้วงที่จะเกิดความเดือนร้อนแก่ผู้อื่น แต่การปิดถนนกระท้วงขอให้เป็นขั้นตอนสุดท้วย
                นายณรงค์  พลละเอียด  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  กล่าวว่า  ทางจังหวัดรับทราบปัญหาดี  เมื่อมีมติ ครม.ออกมาอย่างนี้  หากประชาชนประสงค์ที่จะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีก็สามารถทําได้ เพื่อให้ท่านได้รับทราบปัญหาความเดือนร้อนที่แท้จริง   แต่อย่างไปประท้วงปิดถนนจะก่อให้เกิดความเดือนร้อนผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น