บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี เปิดงานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก

เปิดงานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดความคล่องตัว
ที่วัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน) ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธานเปิดงานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก โดยมีกำนันผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานราชกร ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมงาน นายสุวิทย์ชาติ นวมเพ็ชร นายอำเภอดำเนินสะดวก กล่าวถึงการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก ประจำปี 2567 เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยลำคลองเป็นจำนวนมาก มีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ซึ่งมีผลผลิตตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้แก่ชาวอำเภอดำเนินสะดวกเป็นรายได้หลัก เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ โดยเฉพาะ "มะพร้าวน้ำหอมและองุ่น" เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เป็นที่รู้จักและขึ้นชื่อในด้านรสชาติ และคุณภาพ ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยว ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอดำเนินสะดวกอันได้แก่ "ตลาดน้ำดำเนินสะดวก" อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศงาน "เทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก" เป็นงานเทศกาลประจำปีที่ทางอำเภอดำเนินสะดวกร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมกันจัดให้มีขึ้นเป็นประจำ เดิมที ใช้ชื่อว่า งานเทศกาลองุ่นหวาน เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรในพื้นที่ เริ่มปรับเปลี่ยนจากการเพาะปลูกองุ่น มาเป็นมะพร้าวน้ำหอมมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่องานเทศกาลเป็น "เทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก" เป็นปีที่สอง โดยมี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพของผลผลิตทาการเกษตร ซึ่งเป็นผลผลิตของเกษตรกรชาวให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่บุคคลโดยทั่วไป โดยจัดงานในวันที่ 3 - 5 พฤษภาคม 2567 โดยมีการประกวดธิดาดำเนิน การประกวดมะพร้าวน้ำหอมการออกร้านผลผลิตทางการเกษตร กิจกรรมกิงกาชาดอำเภอดำเนินะดวกตักองุ่นลุ้นโชค ประกวดร้องเพลงกำนันผู้ใหญ่บ้าน การแข่งขันกินก๋วยเตียวและการแข่งขันการกินส้มตำผลไม้
สำหรับการจัดงานเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวและสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ของอำเภอดำเนินสะดวกให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และงานนี้ถือเป็นงานประจำปีของอำเภอดำเนินสะดวก ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมหลากหลายทั้งด้านวิชาการและการแสดงต่างๆ โดยเกิดจากการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมสนับสนุน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตร ที่มีชื่อเสียงและคุณภาพ สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราชบุรีโดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมของอำเภอดำเนินสะดวก ที่ถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่คนในพื้นที่นิยมปลูกและมีชื่อเสียงอย่างมาก ด้วยในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวกมีความได้เปรียบในเรื่องของดินและน้ำ ทำให้รสชาติของมะพร้าวน้ำหอมของอำเภอดำเนินสะดวก มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวไม่เหมือนที่ไหน และความได้เปรียบนี้เองยังส่งผลให้ในการปลูกผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆให้ผลผลิตดีและเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นองุ่น ชมพู่ ฝรั่งกิมจู มะม่วง ลำไย ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรีอีกด้วยเช่นกัน
สำหรับการประกวดธิดาดำเนิน นส.สิรินพร ปุจฉาการ ชนะเลิศ น.ส. ปาจรีย์ ดนัยวรานนท์ รองอันดับ 1 น.ส.สุธาทิพย์ ทรัพย์เพียงฟ้า รอง อันดับ 2 ว่าที่ ร.ต.หญิงสุพรรษา ตันตระกูล รองอันดับ 3 น.ส.ปาจรีย์ อภิชิตพงษศ์พันธ์ รองอันดับ 4

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี ปล่อยขบวนแห่เรือประกวดธิดาดำเนิน

ปล่อยขบวนแห่เรือประกวดธิดาดำเนินเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก กระตุ้นให้เกษตรกรและกลุ่มอาชีพต่างๆ ได้พัฒนาคุณภาพผลผลิต
ที่วัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน) ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี นายสุวิทย์ชาติ นวมเพ็ชร นายอำเภอดำเนินสะดวก เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนแห่เรือประกวดธิดาดำเนิน งานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก ประจำปี 2567 โดยมีนางปาลิกา อภิโชครุ่งเรือง นายกเทศมนตรีตำบลดำเนินสะดวก นางกิตติ์รวี อภิสินรุ่งโรจน์ ประธานสตรีอำเภอดำเนินสะดวก นายพัลลพ โฆสิตาภา นายก อบต.ดอนกรวย พร้อมทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน เข้าร่วมงาน โดยนายประดิทรรศณ์ บวรเกษมพันธุ์ ปลัดอำเภอดำเนินสะดวก กล่าวถึงการจัดงาน เทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก ระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤษภาคม 2567 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ การประกวดธิดาดำเนิน แต่เดิมนั้น ใช้ชื่อการประกวดธิดาองุ่นหวาน เนื่องด้วย ในอดีต อำเภอดำเนินสะดวกมีเกษตรกรที่ทำสวนองุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอดำเนินสะดวก ในปัจจุบัน เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำสวนองุ่น มาเป็นการทำสวนมะพร้าวมากขึ้น
ทางอำเภอดำเนินสะดวก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมการประกวดธิดาองุ่นหวาน มาเป็นการประกวดธิดาดำเนิน จัดให้มีพิธีปล่อยขบวนแห่เรือประกวดธิดาดำเนินจากท่าเรือวัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน) ไปยังตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก จนถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลผลไม้และของดีอำเภอดำเนินสะดวก และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นโดยการประกวดธิดาดำเนิน พร้อมกันนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ กระตุ้นให้เกษตรกรและกลุ่มอาชีพต่างๆ ได้พัฒนาคุณภาพผลผลิต รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายตลอดจนอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและส่งเสริมผลผลิตการเกษตรเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรและกลุ่มอาชีพต่างๆได้พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ราชบุรี ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นชาติพันธุ์ไทยจีน

จัดโรงการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นชาติพันธุ์ไทย จีน เพื่อการรักษาไว้ ซึ่งอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญา และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่
ที่ศาลเจ้าพ่อปู่ ตลาดปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นชาติพันธุ์ไทย – จีน โดยมีนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 นายนคร ศิวิลัย นายอำเภอปากท่อ นายก อบตและหน่วบงานในพื้นที่เข้าร่วมงานโดยนายอิทธิกร เล่นวารี นายกเทศมนตรี ตำบลปากท่อ กล่าวถึงการดำเนินงาน ตามโครงการดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลปากท่อ องค์การบริหารส่วนตำบลวังมะนาว คณะกรรมการศาลเจ้าอาม่าเขาหลาว และศาลเจ้าพ่อปู่ อำเภอปากท่อ ได้เล็งเห็นถึงการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นชาติพันธุ์ ไทย - จีน เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ วิถีความเป็นอยู่ของชุมชนชาติพันธุ์ไทย-จีน ในสมัยโบราณ และส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น ไทย - จีน ซึ่งจังหวัดราชบุรีมีกลุ่มชาติ พันธุ์อาศัยอยู่หลายชาติพันธุ์ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไทย เชื้อสายจีนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เครื่องแต่งกาย ตลอดจนเทศกาลงานต่าง ๆ ซึ่งเป็น การส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา รักษาศิลปะ จารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และการท่องเที่ยววิถีไทย – จีน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่มีอยู่
ทางเทศบาลตำบลปากท่อ จึงใด้ร่วม กับทาง อง์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี จัดโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ชาติพันธุ์ไทย - จีน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น ได้จัดให้มีการแสดงมหรสพ ชาติพันธุ์ย้อนยุค มีขบวนแห่รถอาม่าเขาหลาว และองค์เทพ พิธีลุยไฟ การปีนบันไดมีด และการแสดงสิงโต ในระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2567 รวมจำนวน 4 วัน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟู รักษาศิลปะและวัฒนธรรม จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน การทำนุบำรุงศาสนา และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น รวมถึง การรักษาไว้ ซึ่งอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชาวไทยเชื้อสายจีน และกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เพื่อประชาชนได้เรียนรู้วิธีความเป็นอยู่ของชุมชนชาติพันธุ์ ไทย-จีน ในสมัยโบราณ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมในอำเภอปากท่อ เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ อีกทางหนึ่งด้วย